Wednesday 18 March 2009

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) VS กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)


งานธนาคาร

หลาย คนอาจสับสนว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กับกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เหมือนกันหรือไม่ แตกต่างกันอย่างไร ถึงแม้ชื่อภาษาไทยฟังดูคล้ายกัน แต่ในความหมายแล้วไม่ใช่อย่างเดียวกันแน่นอน ซึ่งสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ดังนี้

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) เป็นการเก็บออมเงินทางหนึ่ง โดยนายจ้างและลูกจ้างทำร่วมกัน ในแต่ละเดือนนายจ้างจะหักเงินเดือนส่วนหนึ่งของลูกจ้างเพื่อนำไปเข้ากองทุน สำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเงินในส่วนของลูกจ้าง เรียกว่า เงินสะสม ในขณะเดียวกันนายจ้างก็ต้องสมทบเพิ่มเข้าไปด้วย เรียกเงินในส่วนของนายจ้างว่า เงินสมทบ นั่นคือ นอกจากลูกจ้าง จะออมแล้ว นายจ้างยังช่วยออมอีกแรงหนึ่งด้วย และนายจ้างจะจ่ายสมทบในจำนวนเท่ากันหรือมากกว่าที่ลูกจ้างจ่ายสะสมเสมอ จึงอาจกล่าวได้ว่าการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้ สวัสดิการแก่ลูกจ้าง จึงช่วยสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างทำงานให้กับนายจ้าง

ลูกจ้าง จะได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ก็ต่อเมื่อลาออกจากบริษัท โดยจะได้รับเงินสะสมเต็มจำนวน ส่วนเงินสมทบจะได้รับตามเงื่อนไขของนายจ้างที่ตกลงกับลูกจ้างเอาไว้ตั้งแต่ แรก เช่น

อายุงานน้อยกว่า 1 ปี จะได้รับเงินสมทบ ร้อยละ 10
อายุงานตั้งแต่ 1 ปี - 5 ปี จะได้รับเงินสมทบ ร้อยละ 50
อายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสมทบ ร้อยละ 100

ใน ระหว่างการออมเงินนี้ ลูกจ้างไม่สามารถเบิกเงินก้อนนี้ออกไปใช้ได้ เนื่องจากวัตถุประสงค์คือการเก็บออมเพื่อให้ลูกจ้างมีเงินเก็บไว้สำหรับใช้ ในยามเกษียณ

สำหรับกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ(Retirement Mutual Fund หรือ RMF) เป็น การออมเงินระยะยาวที่นักลงทุนสมัครใจที่จะออมเอง ด้วยอาจเห็นว่าเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังมีไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต หลังเกษียณ อีกทั้งเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนผ่านกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพยัง สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ถึง 500,000 บาทต่อปี โดยผู้ลงทุนต้องซื้อหน่วยลงทุน RMF อย่างต่อเนื่องทุกปี หรือปีเว้นปี และเงินที่ลงทุนต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 % ของรายได้ต่อปี หรือ ไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี ทั้งนี้จำนวนสูงสุดที่ลงทุนได้ต้องไม่เกิน 15 % ของรายได้ต่อปี และเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข) แล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท

นอกจากนี้ ผู้ลงทุนจะต้องถือหน่วยลงทุน RMF ไปจนถึงอายุ 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ และเงินที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุน RMF จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ เมื่อคุณได้ถือหน่วยลงทุนนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

เนื่อง จากกอง RMF เป็นกองทุนระยะยาว จึงเปิดโอกาสให้เปลี่ยนนโยบายการลงทุนได้ และยังสามารถโอนย้ายข้ามไปยัง บลจ.อื่นได้ ท่านสามารถเลือกลงทุนได้หลายกองทุนด้วยกันขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่คุณได้ รับ เริ่มจากความเสี่ยงระดับน้อยมาก ๆ ก็เน้นลงลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ ไปจนถึงกองทุนที่มีความเสี่ยงที่สูง ก็ลงทุนในตราสารทุน เช่นช่วงที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูง ท่านที่ลงทุนในกองทุนหุ้นก็สามารถสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนมาที่กองทุนตราสาร หนี้ได้

โดยสรุปทั้งสองกองทุนมีวัตถุประสงค์ เพื่อการเก็บออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณทั้งคู่ แต่มีรูปแบบการออมที่แตกต่างกัน Provident Fund เป็นการออมเงินร่วมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง แต่ RMF เป็นการลงทุนที่นักลงทุนตัดสินใจเอง เลือกกองทุนและระดับความเสี่ยงเอง เป็นการเพิ่มโอกาสในการออมเงินนอกเหนือไปจากเงินออม Provident Fund

จัดทำงบประมาณ สร้างวินัยทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ


งานธนาคาร

ผู้ ที่จะสามารถบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดทำงบประมาณ รู้ว่าในแต่ละเดือนจะมีรายได้เข้ามาเท่าไร และจะต้องจ่ายค่าอะไรออกไปเท่าไร และเมื่อใดในแต่ละเดือน ทั้งนี้ก่อนจะจัดทำงบประมาณจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับงบประมาณในส่วน ต่าง ๆ ทั้งรายรับ รายจ่าย เงินหมุนเวียน และเงินสำรอง เพื่อให้สามารถจัดการกับเงินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

  • ศึกษาและปรับแต่งงบประมาณ

ค่อย ๆ ศึกษาและเรียนรู้วิธีปรับแต่งงบประมาณในแต่ละส่วน เพื่อให้เกิดการคาดการณ์ที่แม่นยำที่สุด หากมีค่าใช้จ่ายในส่วนใดที่สูงหรือต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ ก็สามารถปรับเพิ่มงบประมาณในส่วนที่ขาด และลดงบประมาณในส่วนที่เหลือได้อย่างเหมาะสม นั่นคือการรู้จักโยกงบประมาณเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ถ้าค่าเดินทางในแต่ละเดือนสูงกว่าที่คุณตั้งงบประมาณไว้ติดกัน 3 เดือน คุณอาจปรับเพิ่มงบสำหรับส่วนนี้ให้มากขึ้น โดยอาจตัดออกมาจากงบค่าโทรศัพท์ หากในแต่ละเดือนคุณใช้งบในส่วนนี้ต่ำกว่าที่ตั้งไว้ หรืออาจตัดออกจากงบส่วนอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นมากนัก

  • ยืดหยุ่นแต่อย่าฟุ่มเฟือย

แม้ ว่าคุณได้ตั้งงบเพื่อวางแผนการใช้จ่ายไว้แล้ว คุณควรสร้างความยืดหยุ่นให้ตัวเองด้วย อย่าปิดกั้นโอกาสที่จะได้บางอย่างที่คุ้มค่า เพราะคุณเข้มงวดกับค่าใช้จ่ายมากเกินไป บางครั้งคุณอาจให้เงินเกินงบไปบ้างเพื่อแลกกับบางอย่างที่น่าสนใจ แต่มิใช่ใช้จ่ายโดยขาดความยับยั้งชั่งใจไปกับรายการฟุ่มเฟือยต่าง ๆ

  • เงินหมุนเวียนอย่าให้ขาด

หลัก ในการตั้งงบประมาณก็คือ กำหนดตัวเลขค่าใช้จ่ายให้สูงเกินจริง ในขณะที่ตั้งรายได้ให้ต่ำกว่าความเป็นจริงเสมอ ซึ่งจะช่วยคุณสร้างความมั่นใจว่าคุณจะมีเงินเหลือจากที่ตั้งงบไว้ นั่นคือมีรายรับเข้ามามากกว่ารายจ่าย และควรกันเงินส่วนเกินไว้สำหรับเป็นเงินสดหมุนเวียน เพื่อไม่ให้คุณขาดสภาพคล่อง เมื่อต้องมีการใช้จ่ายแบบฉุกเฉินนอกรายการที่คุณจำเป็นต้องจ่ายตามปกติ

  • อดออมประหยัด

ควร สำรวจค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนเพื่อหาทางประหยัดงบ ประมาณให้ได้มากที่สุด เพราะมักจะมีค่าใช้จ่ายที่เกินความคาดหมายโผล่มาอยู่บ่อยครั้ง หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดีแล้วละก็ อาจประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินได้ ดังนั้นเมื่อมีรายรับเข้ามา ควรหักส่วนหนึ่งของรายรับทุกรายการเก็บเป็นเงินออม หรือนำไปลงทุนให้งอกเงยเพิ่มมูลค่า

สร้างวินัยทางการเงิน ด้วยการจัดทำงบประมาณในแต่ละเดือนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด คุณจะสามารถวางแผนการใช้จ่ายและการออมเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำเงินก้อนไปใช้เพื่อลงทุน หรือเก็บไว้ใช้ยามเกษียณได้อย่างสบายใจไร้กังวล

จัดการกับหนี้สินเชื่ออย่างไรดี


งานธนาคาร



แม้ว่าการ..รูดปรื๊ด..รูดปรื๊ด..จะช่วยให้คุณเกิดความสะดวกสบายในการจับ จ่ายใช้สอย สามารถซื้อสินค้าที่มีราคาสูงได้ และสามารถเป็นเงินสำรองในกรณีฉุกเฉินได้ แต่ก่อนจะเลือกใช้บริการบัตรเครดิตความพิจารณาในรายละเอียดให้รอบคอบเสีย ก่อน

  • อย่า เลือกบัตรจากค่าธรรมเนียมแต่เพียงอย่างเดียว เพราะแต่ละบัตรก็จะให้ข้อเสนอที่แตกต่างกัน ควรพิจารณาสิทธิประโยชน์อื่น ๆ จากการใช้บัตรเครดิตด้วย และเลือกบัตรที่ให้ข้อเสนอที่ดีที่สุด
  • ควร พิจารณาจากค่าธรรมเนียมต่ำสุด หรือไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี และเลือกบัตรที่คิดดอกเบี้ยต่ำกว่า
  • บริษัท บัตรเครดิตมักจะจัดแคมเปญสะสมแต้มเพื่อแลกของสมนาคุณ จูงใจลูกค้าให้ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต คุณอาจพิจารณาจากเกณฑ์การสะสมคะแนน หรือดูจากรายการของรางวัลว่าคุณพึงพอใจหรือไม่ประกอบการตัดสินใจด้วย

ใช้จ่ายผ่านบัตรให้คุ้มค่า

  • โดย ปกติแล้ว จากวันที่คุณใช้จ่ายผ่านบัตรไปจนถึงวันตัดรอบบัญชี คือระยะปลอดดอกเบี้ย คุณสามารถนำเงินสดที่คุณมีไปใช้จ่ายในกรณีที่เร่งด่วนกว่า หรือนำไปฝากธนาคารเพื่อรับดอกเบี้ยก่อนได้ แต่ต้องระวังเมื่อถึงกำหนดจ่ายเงินคุณต้องจ่ายเงินตามกำหนด มิฉะนั้นอาจจะถูกคิดดอกเบี้ยในราคาแพงหูฉี่
  • จด บันทึกวันตัดรอบบัญชี เพื่อที่จะได้ซื้อสินค้าที่มีราคาสูง หลังจากวันตัดรอบบัญชี เพื่อให้คุณมีช่วงเวลาปลอดดอกเบี้ยยาวนานที่สุด

วางแผนให้ดี เมื่อเป็นหนี้สินเชื่อ

  • เมื่อ คุณกลายเป็นคนมีหนี้สิน คุณจำเป็นต้องใช้เงินอย่างระมัดระวังมากกว่าปกติ พยายามลดรายจ่ายต่าง ๆ ที่พอจะลดได้ เช่น ลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย พวกเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เที่ยวให้น้อยลง รับประทานอาหารที่บ้านให้มากขึ้น หากเช่าที่พักอาศัยอาจย้ายที่พักไปอยู่ที่เสียใหม่ที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง
  • จ่ายเงินตรงเวลา หรือก่อนเวลาเพียงเล็กน้อย ใช้ช่วงเวลาเครดิตให้ได้นานที่สุด เพื่อให้เงินอยู่กับคุณนานที่สุด
  • จ่าย ค่าบัตรเครดิตให้ครบตามกำหนดเพื่อจะไม่ต้องเสียดอกเบี้ย แต่หากไม่สามารถจ่ายหมดได้ในคราวเดียว ควรเลือกจ่ายบัตรที่คิดดอกเบี้ยแพงสุดก่อน เพื่อให้คุณสามารถรับมือกับดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นได้
  • กู้ สินเชื่อที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันที่คิดดอกเบี้ยต่ำกว่ามาจ่ายสินเชื่อบัตร เครดิต จะทำให้คุณจ่ายดอกเบี้ยถูกลง แต่คุณต้องมั่นใจได้ว่าคุณจะสามารถจ่ายหนี้สินเชื่อรถหรือบ้านได้ ไม่อย่างนั้นอาจจะสูญทรัพย์สินค้ำประกันนั้นไปก็ได้

อย่าง ไรก็ดีการทำเงินในอนาคตมาใช้ อาจทำให้คุณใช้จ่ายเกินตัว และเกิดภาระหนี้สินติดพันมากมายจนถึงขั้นหมดเนื้อหมดตัวได้ ดังนั้นก่อนจะทำบัตรเครดิต หรือเป็นหนี้เงินกู้ต่าง ๆ ควรคิดให้รอบคอบ และประเมินตัวเองว่ามีความสามารถที่จะจัดการกับหนี้สินที่จะเกิดขึ้นได้จริง ๆ หรือไม่

Tuesday 3 March 2009

The Quant & The Tactical - ตลาดจะตอบสนองไวต่อข่าวลบ

The Quant & The Tactical - ตลาดจะตอบสนองไวต่อข่าวลบ
- เราคาดว่าตลาดไทยเริ่มจะหมดข่าวดีหลังประกาศจ่ายเงินปันผลประจำปี
-ตลาดจะ sensitive ต่อข่าวลบมากขึ้น โดยข่าวลบจะมาทั้งจากภายนอก และภายในประเทศ
-สภาพคล่องทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนจะตึงตัวมากขึ้น หลายบริษัทจะมีปัญหาเงินทุนหมุนเวียนจากการที่แบงก์ชะลอการปล่อยสินเชื่อ
-เศรษฐกิจที่เลวร้ายกว่าที่คาด และผลกระทบต่อตลาดแรงงาน และกำลังซื้อภายในประเทศจะทำให้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนแย่กว่าคาด…
- ...นักวิเคราะห์ในตลาดน่าจะต้องปรับลดประมาณการลงอีกรอบหนึ่ง
- คำแนะนำเชิง Tactic – เพิ่มเงินสด โดย “ขาย” บริษัทที่จะมีสภาพคล่องทางการเงินตึงตัว หรืออาจถูกปรับลดประมาณการลง
- หุ้นแนะนำใน 2-4 สัปดาห์ข้างหน้า :“ขาย” SCC, THCOM, THAI, AH และเดินเรือ, “สะสม” BANPU และ ADVANC เมื่อราคาอ่อนตัว

Monday 2 March 2009

Dow Jones และน้ำมันลบแรงวันนี้ หุ้นไทยเสี่ยงที่จะถูกขายทำกำไร

-ปัจจัยภายนอกจะมีผลกดดันตลาดไทยวันนี้ หุ้นกลุ่มสถาบันการเงินในสหรัฐลดลงแรงจากความไม่มั่นใจในแผนกอบกู้ระบบการเงิน

-ทำให้น่าจะมีแรงขายในกลุ่มแบงก์ของไทยวันนี้เพราะเป็นกลุ่มที่ราคาปรับขึ้นมาใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา

-เราแนะนำ “ขาย” BAY (outperformed ตลาด 1% ใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา)

-“ขายทำกำไร” SCIB (outperformed 1.6%), SCB (outperformed 4.4%), BBL (outperformed 1.4%) การซื้อ SCB และ BBL ซึ่งเป็น Top BUYs ของ TNS กลับ ควรรอราคาที่แนวรับ

-นอกจากนี้ หุ้นที่น่าจะถูกขายวันนี้ คือหุ้นพื้นฐานอ่อนแอที่ราคาปรับขึ้นมากใน 1 สัปดาห์ - PSL (30%), THAI (+9.9%), PTTAR (+8.9%), TTA (+10.6%)

-ส่วน TOP ที่ธุรกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวใน 1Q09 ก็น่าจะถูกขายทำกำไรเพราะราคาปรับขึ้นมาถึง 11% ใน 1 สัปดาห์

-ระยะสั้น – ตลาดไทยยังเป็นตลาดสำหรับ trade

-ระยะปานกลาง-ยาว – “หาจังหวะสะสม” หุ้นดีที่ราคาถูกกว่าพื้นฐานมาก (หุ้น valued stocks)

Development: 64% y-y growth in 4Q08 recurring earnings in line with our expectation

Development: 64% y-y growth in 4Q08 recurring earnings in line with our expectation

• TTW reported recurring earnings of THB387m in 4Q08, up 64% y-y and 8% q-q. This came in line with our expectation. Earnings growth was driven by sales volume growth and a drop in interest expenses.

• Revenue grew 18% y-y and 3% q-q. TTW’s sales volume in 4Q08 grew 8% y-y but it dropped 0.4% q-q due to low seasons while PTW’s sales volume grew 8% y-y and 0.7% q-q. The average water tariff increased 10% y-y and 3.2% q-q in 4Q08 as 20% increase in minimum off-take quantity on July 21, 2008 allowed the company to charge PWA at full tariff for additional 50,000 cubic maters.

• Gross margin improved to 68% in 4Q08 from 67% in 4Q07 and 65% in 3Q08 due to an increase in the average water tariff.

• We like the company for long-term investment as tap water business is resilient to economy slowdown. The company’s sales volume is also guaranteed by the government (Provincial Waterwork Authority). A concern on deflation to impact the company’s water tariff adjustment could be offset by a fall in interest expenses as the company has now issued THB7b bonds to refinance its debts and fund its expansion project. There would be one-time early debt repayment fee of around THB120m booked in 1Q09 but the company will benefit in long term as its average coupon rates for the bonds would be around 4.6% while its current interest rate is 5.25%.

• With a full-year benefit from an increase in minimum off-take quantity, an increase in water tariff and a fall in interest expenses, we forecast TTW’s recurring earnings to grow 36% y-y in 2009. Our BUY call is maintained with a target price of THB5.6.

ภาวะเงินฝืด (Deflation) คืออะไร ทำไมหลายคนถึงกลัวภาวะเงินฝืด

ภาวะเงินฝืดคืออะไร

ภาวะเงินฝืด หรือที่เรียกว่า Deflation คือภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อยๆ โดยปกติ อาการของภาวะเงินฝืดที่เห็นได้ชัดคือ เราจะเห็นตัวเลขเงินเฟ้อที่เป็นตัวเลขติดลบ โดยตัวเลขที่ติดลบดังกล่าว จะต้องมีสาเหตุมาจากการที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อย ๆ ไม่ใช่เกิดขึ้นแค่ในสินค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งความน่ากลัวของภาวะเงินฝืดจะไม่ได้อยู่ที่ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อมีค่า เป็นลบแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไขอื่น ๆ อีก ซึ่งจะได้กล่าวถึงในส่วนต่อไป โดยจะขออธิบายก่อนว่าภาวะเงินฝืดนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร

ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นได้อย่างไร

สาเหตุของภาวะเงินฝืด หรือสาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าและบริการลดลงเรื่อย ๆ นั้น มาได้จากทั้งด้านอุปทาน (Supply side) และด้านอุปสงค์ (Demand side) โดยด้านอุปทานได้แก่ การเกิดการเพิ่มของผลผลิตอย่างมากมายในระยะเวลาอันสั้น ดังที่ได้กล่าวแล้วในเรื่องของอุปสงค์และอุปทานที่ว่า หากอยู่ ๆ สินค้ามีจำนวนมากขึ้น เช่น อาจเกิดจากผลิตภาพการผลิตหรือที่เรียกว่า productivity เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น เราอาจเคยใช้คน 4 คน ผลิตแก้ว 4 ใบ แต่ตอนนี้แรงงานเราเก่งขึ้น ทำให้ใช้แค่ 3 คน ก็ผลิตแก้ว 4 ใบเท่าเดิมได้ อันนี้ก็ทำให้ต้นทุนการผลิตแก้วถูกลง และทำให้ราคาแก้วถูกลง เป็นต้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นของ productivity นี้ อาจเกิดจากผลของการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น การเกิดขึ้นของ Internet ที่มีผลทำให้โลกเราอยู่ใกล้กันแค่เพียงปลายนิ้วสัมผัส หรืออยู่ ๆ มีแรงงานราคาถูกจำนวนมหาศาลเข้ามาในตลาดแรงงาน สิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าปรับลดลง และมีผลทำให้ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปปรับลดลงตามไปด้วย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในช่วงที่ผ่านมาได้แก่ การเปิดประเทศของจีน ซึ่งทำให้มีแรงงานชาวจีนที่ค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ โดยเปรียบเทียบ เข้ามาผลิตสินค้าในตลาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งตัวอย่างของสินค้าเช่น เราอาจเห็นเสื้อผ้า กระเป๋า รวมทั้งสินค้าอื่นๆ อีกมากมายที่แม้เราจะซื้อมาจากประเทศในยุโรป แต่เมื่อพลิกป้ายดูจะพบว่า Made in China หรือผลิตในจีนแทบทั้งสิ้น ทั้งนี้ ก็เพราะว่าค่าแรงงานของคนจีนถูกกว่าการจ้างคนที่ยุโรปผลิต หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือที่เราอาจเคยได้ยินกันว่าที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น หากเราโทรศัพท์ไป Call center ของบริษัทบางบริษัทจะพบว่าคนที่รับโทรศัพท์นั้น นั่งทำงานอยู่ที่ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นอีกประเทศที่มีประชากรมหาศาลและมีค่าแรงงานถูก โดยลือกันว่าค่าใช้จ่ายจ้างคนรับสาย Call center ที่ประเทศอินเดียนั้นถูกกว่าจ้างคนที่นั่งอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกามาก เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ไม่น่าแปลกใจว่าในช่วงตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาจนเกือบถึงต้นปี 2551 ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปของเกือบทุกประเทศทั่วโลกจึงถูกลง (ยกเว้นราคาน้ำมัน ซึ่งมีเรื่องของอำนาจเหนือตลาด หรือ Market power ของกลุ่ม OPEC และเรื่องของข้อจำกัดของแหล่งผลิตน้ำมันเข้ามาเกี่ยวข้อง) และทั้งโลกก็มีตัวเลขเงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำมาโดยตลอด ซึ่งหากภาวะเงินฝืดเกิดจากการเพิ่มขึ้นของ productivity ซึ่งเป็นด้านอุปทาน จะไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว เพราะเงินฝืดประเภทนี้จะไม่ทำให้คนตกงานและส่งผลกระทบต่อรายได้ของคน เนื่องจากไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งแตกต่างจากภาวะเงินฝืดอีกประเภทหนึ่งคือ ภาวะเงินฝืดที่มีสาเหตุมาจากด้านอุปสงค์

ภาวะเงินฝืดที่มาจากด้านอุปสงค์ หรือ Demand side คือสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์กลัว โดยอาการของภาวะเงินฝืดนั้น จะเห็นว่าราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงและทำให้เงินเฟ้อติดลบเช่นกัน แต่คราวนี้ การติดลบเกิดจากความต้องการบริโภคของผู้คนที่ลดลง เช่นเกิดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ คนตกงาน คนไม่มีรายได้จะจับจ่ายใช้สอย คนขายสินค้าจึงลดราคาสินค้าลงเพื่อให้ยังขายได้ โดยการติดลบของเงินเฟ้อจะน่ากลัวและมีผลต่อเศรษฐกิจได้ จะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขอีก 2-3 ประการได้แก่

(1) ราคาสินค้าและบริการลดลงโดยทั่วไป ไม่ได้เกิดขึ้นจากสินค้าหรือบริการในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการบริโภคที่ลดลง

(2) ราคาสินค้าและบริการลดลงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จนทำให้ผู้คนชะลอการบริโภคและการลงทุนออกไป โดยหวังว่า (Expect) ราคาสินค้าและบริการจะถูกลงไปอีก

(3) เมื่อคนคิดเหมือน ๆ กันคือรอให้ราคาสินค้าถูกลง โดยคิดว่า “ถ้าซื้อพรุ่งนี้ ราคาน่าจะถูกกว่าซื้อวันนี้” ในที่สุดจะส่งผลทำให้สินค้าของผู้ผลิตขายไม่ออก ก็เริ่มมีสินค้าเหลือในสต็อก ผู้ผลิตเริ่มขาดทุน และเริ่มปลดคนงานออก คนก็เริ่มตกงาน เมื่อตกงานก็ไม่มีกำลังซื้อไปซื้อสินค้า ก็ทำให้ผู้ผลิตขาดทุนขายของไม่ออกไปอีก และในที่สุดก็ทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยติดต่อกันไปอีกหลายปี

ภาวะ ดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า Downward spiral ซึ่งเป็นวงจรที่ไม่มีใครอยากให้เกิด โดยภาวะดังกล่าว เคยเกิดขึ้นที่เห็นเด่นชัดคือ การเกิดภาวะเงินฝืดในสหรัฐอเมริกาเมื่อทศวรรษที่ 1930 ที่เรียกว่า Great depression และอีกครั้งที่ชัด ๆ คือ ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2545 ซึ่งมีผลทำให้เศรษฐกิจตกต่ำต่อเนื่องไปอีกหลายปี

อีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการลดลงของราคาสินค้าและบริการคือ คำว่า Disinflation ซึ่งจะหมายถึงภาวะที่ตัวเลขเงินเฟ้อยังมีค่าเป็นบวก แต่มีค่าที่เป็นบวกลดลงเรื่อย ๆ เช่น เงินเฟ้อของไทยในเดือนกรกฎาคม 2551 อยู่ที่ร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อน แต่พอเดือนสิงหาคม 2551 เงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.4 และเดือนถัด ๆ มาอยู่ที่ร้อยละ 6 เป็นต้น

คำถามต่อมาคือ แล้วตัวเลขเงินเฟ้อของไทยล่าสุดแสดงสัญญาณภาวะเงินฝืดหรือเปล่า โดยเฉพาะภาวะเงินฝืดที่มาจากด้านอุปสงค์ ซึ่งพบว่าในปัจจุบัน แม้ตัวเลขเงินเฟ้อของไทยในเดือนมกราคม 2552 จะมีตัวเลขติดลบเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี โดยติดลบที่ร้อยละ 0.4 จากเดือนเดียวกันปีก่อน หรือแปลว่า ราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.4 แต่เมื่อดูในรายละเอียดจะพบว่าเป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงมากเป็น สำคัญ โดยราคาน้ำมันเบนซิน 91 ที่เดือนมกราคม 2551 เฉลี่ยอยู่ที่ 31.88 บาทต่อลิตร แต่ปีนี้ลดลงถึงร้อยละ 31 มาอยู่ที่เฉลี่ย 21.99 บาทต่อลิตร นอกจากนี้ หากใครติดตามข่าวสารบ้านเมืองจะพบว่าเงินเฟ้อในเดือนมกราคม 2552 ยังได้รับผลจากมติของรัฐบาลชุดก่อนที่จะช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน โดยการ ลดค่าไฟฟ้า ลดค่าน้ำประปา และยังให้ขึ้นรถเมล์ฟรีในกรุงเทพฯ รถไฟฟรีทั่วประเทศ ลดค่าน้ำมันจากการลดการเก็บภาษีสรรพสามิต หรือที่รู้จักกันในชื่อของ "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน" ซึ่งมีผลมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2551 และปัจจุบันคณะรัฐมนตรียังมีมติต่ออายุไปอีก 6 เดือน ทำให้มาตรการนี้เปลี่ยนไปสิ้นสุดลงในเดือนกรกฎาคม 2552 แทน จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมอัตราเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมารวมถึงเดือนปัจจุบันจึงลดลงและไปอยู่ในแดน ลบได้



ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ติดลบทำให้มีหลายหน่วยงานเริ่มพูดถึงคำว่าภาวะเงิน ฝืดว่าอาจจะเกิดขึ้นในเศรษฐกิจไทย และเริ่มมีความกลัวว่าเศรษฐกิจตกอยู่ในภาวะเงินฝืด ซึ่งถามว่า ณ ปัจจุบันนี้ นอกจากตัวเลขเงินเฟ้อที่เป็นลบแล้ว ยังมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ทำให้เราต้องกลัวภาวะเงินฝืดประเภทที่เป็นอันตรายต่อภาวะเศรษฐกิจหรือไม่ ก็พบว่า เศรษฐกิจยังไม่ถึงกับจะต้องกลัว เนื่องจากหากไม่รวมผลของราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมากและรวดเร็ว และผลของ 6 มาตรการ 6 เดือนของภาครัฐ จะพบว่าราคาสินค้าและบริการอื่นๆ ดูจะไม่ได้ปรับลดลงแต่อย่างใด นอกจากนี้ คนยังไม่ได้คาดการณ์ว่าราคาข้าวของในพรุ่งนี้จะถูกกว่าวันนี้ แล้วเลื่อนการซื้อไปก่อนอีกด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะเงินฝืดประเภทที่เป็นอันตรายต่อ เศรษฐกิจไทย

และไม่ใช่แค่เพียงตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของไทยที่มีลักษณะลดลงอย่างรวดเร็วแบบ นี้ ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของต่างประเทศก็มีลักษณะคล้าย ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ จึงเริ่มทำให้มีนักเศรษฐศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศได้ให้คำนิยามการติดลบของ เงินเฟ้อประเภทที่ราคาสินค้าในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งลดลงอย่างมากจนทำให้อัตรา เงินเฟ้อติดลบว่าควรจะเรียกเป็นภาวะ Disinflation เพราะภาวะการติดลบไม่ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางกับทุกกลุ่มสินค้า โดยคาดหมายกันว่ายังไม่ถึงกับภาวะ Deflation โดยเห็นว่าเศรษฐกิจจะตกอยู่ในภาวะเงินฝืด หรือ Deflation ได้ก็ต่อเมื่อจะต้องเห็นว่าผู้คนเริ่มคาดการณ์ว่าราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ จะถูกลงเรื่อยๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อย่างไรก็ตาม การเกิดภาวะเงินเฟ้อลดลงเรื่อย ๆ (Disinflation) นาน ๆ ไปก็ไม่ดีเช่นกัน เพราะอาจจะมีผลเปลี่ยนการคาดการณ์ของประชาชนและภาคธุรกิจได้ในที่สุด และอาจจะนำไปสู่ภาวะเงินฝืดประเภทที่น่ากลัวได้จริง ๆ และทำให้เศรษฐกิจตกต่ำได้จริง ๆ

เราจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืดที่ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจได้อย่างไร

เรา สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืดได้โดยอาศัยการกระตุ้นเศรษฐกิจในรูป แบบต่าง ๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้องเช่น จากการใช้นโยบายการเงิน เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย หรือการใช้นโยบายการคลัง เช่น การลดภาษี การใช้จ่ายของภาครัฐในโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างงานและการลงทุน ซึ่งเท่าที่ทราบ ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังก็ได้ ดำเนินไปในแนวทางที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืดในประเทศไทยอยู่แล้ว

ที่มา วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com)