Sunday 1 March 2009

ทำไมถึงตั้งชื่อว่า กลยุทธ์หุ้นห่านทองคำ?

คำถามยอดฮิตที่ผมได้รับจากการเปิดตัวหนังสือเล่มล่าสุด คือ “ทำไมถึงตั้งชื่อว่า กลยุทธ์หุ้นห่านทองคำ?”


บางคนถามว่า หุ้นห่านทองคำแตกต่างกับหุ้นปันผลอย่างไร?


ขอบอกว่า ความจริงหุ้นห่านทองคำก็คือ หุ้นปันผลนั่นเอง


แต่ที่เป็นกลยุทธ์หุ้นห่านทองคำเพราะผมเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีทางเลือกที่ 3


เพราะในปัจจุบันมีทางเลือกการลงทุนในหุ้นอยู่แล้วสองแบบ คือ แบบค้าหุ้น (Trading) กับแบบมูลค่า (Value)


แบบที่ 1 คือ การค้าหุ้นนั้นมีกันมาตั้งแต่ตอนเริ่มเปิดตลาดหุ้น สมัยนั้น หุ้นมีน้อยตัว นักลงทุนส่วนใหญ่เข้ามา “เล่นหุ้น” แบบเก็งกำไร เข้าถูกตัว ถูกจังหวะ ก็สามารถรวยได้แบบง่ายๆ ไม่ต้องใช้ความรู้มาก อาศัยแหล่งข่าวว่าหุ้นตัวไหนจะวิ่ง เข้าไปร่วมขบวนการซื้อ ไม่ช้าไม่นาน หุ้นที่ซื้อก็วิ่งขึ้นสามารถทำกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ โอ้โฮ ทำอะไรจะง่ายอย่างนั้น ไม่ต้องศึกษาข้อมูลอะไรเลย ฟังคำแนะนำเด็ดๆ จากมาร์เก็ตติ้งก็สามารถขุดทองจากขุมทรัพย์ตลาดหุ้นได้อย่างสบายๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป นักเล่นหุ้นก็ต้องเจอกับความจริงว่า ไม่มีอะไรที่จะขึ้นไปได้ตลอด ไม่มีอะไรที่ฝืนธรรมชาติแล้วจะตั้งอยู่ได้ตลอดไป ความเจ็บปวดที่ได้รับสำหรับบางคนถึงกับทนไม่ไหว หลายๆ คนถึงกับสาปส่งตลาดหุ้นเลยทีเดียว ไม่นับบางคนที่เลือกทางออกอย่างผิดๆ กลายเป็นเรื่องเศร้าของชาวหุ้น ดังนั้นเวลาที่ผมพูดถึงการลงทุนในตลาดหุ้น จึงมักจะเจอกับปฏิกิริยาแปลกๆ จากคนไม่น้อยที่ผมคุยด้วย และผมก็ถูกตราหน้าว่าเป็น “นักเล่นหุ้น” ทั้งๆ ที่ผมแน่ใจอย่างที่สุดว่าเรื่องหุ้นไม่ใช่ของเล่นๆ แต่เป็นเรื่องที่ต้องเอาใจใส่ ต้องมีการทำการบ้านพอสมควร และจะต้องมีกลยุทธ์ที่ดีด้วย จึงจะอยู่รอดปลอดภัยสามารถเป็นไททางการเงินได้ในระยะยาวจากการที่ต้องตกเป็นเหยื่อเคราะห์ร้ายของตลาดหุ้นรุ่นแล้วรุ่นเล่า นักลงทุนรายย่อยจึงถูกตั้งสมญาว่าเป็นแมงเม่า ชอบตามแห่เวลาหุ้นขึ้นก็แย่งกันเข้ามาซื้อโดยหวังว่าราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้น ไปอีก ครั้นหุ้นอยู่นิ่งๆ ก็เริ่มกลุ้มใจ ถ้าหุ้นเริ่มลดระดับราคาลงก็ตกใจ พากันแย่งเทขายทิ้งอย่างไม่คิดชีวิต เล่นไปเล่นมา คิดแล้วไม่คุ้มกำไร ถ้าหักกับขาดทุนแล้วจะได้ก็ไม่มาก เพราะซื้อๆ ขายๆ ถี่ยิบเกินไป เลยถูกค่าคอมมิชชั่นกินไปอื้อ


แต่ ก็แปลก แมงเม่าก็ไม่เคยจะหมดไปจากตลาดหุ้นเลย สังเกตได้จากการตั้งคำถามเวลามีการวิเคราะห์หุ้น แทนที่จะถามเกี่ยวกับเรื่องราวของบริษัทจดทะเบียน กลายเป็นส่วนใหญ่จะถามว่าราคาหุ้นตัวนั้นตัวนี้จะเป็นอย่างไร? ถือต่อไปได้ไหม?

ผม ก็เคยผิดพลาดมาแล้วอย่างจังในการใช้กลยุทธ์การค้าหุ้น แม้ในตอนแรกจะได้กำไรมาเยอะ แต่ท้ายสุดก็หมดไปเกือบเกลี้ยง ผมเห็นว่าการลงทุนในตลาดหุ้นโดยหวังผลกำไรเร็วๆ จากการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นเป็นกลยุทธ์ที่น่ากลัว โดยเฉพาะถ้าเป็นหุ้นที่มีผลประกอบการเลว และแม้จะเป็นหุ้นดีแต่ถ้าซื้อมาในราคายอดดอย ก็ต้องเหนื่อยมาก


แบบที่ 2 คือแบบกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่มีมูลค่าดี (value investing) ผมชอบกลยุทธ์แบบนี้มากกว่าแบบการค้าหุ้น เพราะนักเล่นหุ้นกลุ่มนี้จัดได้ว่าเป็นนักลงทุน ไม่ใช่แมงเม่าแต่เป็นมดงาน เป็นนักลงทุนที่ยอมทำการบ้านเพื่อคัดหุ้นพื้นฐานดีๆ และจะเข้าซื้อเมื่อราคาหุ้นลงมาอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้วเท่านั้น ไม่ใช่ว่าเป็นหุ้นดีแล้วราคาไหนก็ซื้อได้ นักลงทุนประเภทนี้จะไม่กลัวการตกรถไฟเพราะมักจะเป็น Early Bird คือเข้าไปก่อนคนอื่นๆ จึงมักได้ของถูกจากการเป็นผู้ขยันทำการบ้าน และเป็นคนช่างสังเกต ชอบสำรวจตลาดอยู่เป็นประจำ ทำให้เห็นกิจกรรมทางธุรกิจได้ล่วงหน้าก่อนที่จะปรากฏออกมาเป็นตัวเลขการขาย หรือ กำไรในงบรายไตรมาสความจริงกลยุทธ์หุ้นห่านทองคำซึ่งผมขอเสนอเป็นทางเลือกที่ 3 นั้นมีอะไรที่คล้ายกับกลยุทธ์การลงทุนเน้นมูลค่ามาก ที่แตกต่างกัน คือ กลยุทธ์ห่านทองคำจะให้ความสำคัญกับหุ้นปันผลมาก เพราะผมต้องการความเป็นไททางการเงินเป็นที่ตั้ง ไม่ได้ต้องการมีความมั่งคั่งมากๆจากการเพิ่มค่าของทรัพย์สิน ในขณะที่ Value Investors เน้นหุ้นคุณภาพดีที่มีราคาสมเหตุสมผล ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นปันผลเสมอไป อาจจะเป็นหุ้น Growth Companies หรือ Turnaround ก็ได้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการเห็นหุ้นในพอร์ตมีมูลค่าที่สูงขึ้นๆ ทุกๆ ปี คือเน้นที่จะเห็น Long Term Capital Appreciation เป็นหลักเนื่องจากกลยุทธ์หุ้นห่านทองคำมีเป้าหมายหลัก คือ การเป็นไททางการเงินอย่างยั่งยืน การจะเป็นไทได้หมายความว่าผมไม่ต้องทำงานใดๆ เพื่อหาเลี้ยงชีพตนเองเลย ก็ยังอยู่ได้ เพราะค่าใช้จ่ายประจำของผมได้รับการดูแลโดยไข่ทองคำ! ณ วันนั้น ผมจะมีรายได้จากเงินปันผลมากพอสำหรับค่าใช้จ่ายประจำ วันแห่งเสรีภาพนั้นจะมาถึงช้าหรือเร็วแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าผมสามารถสะสม หุ้นห่านทองคำดีๆ ไว้มากพอหรือไม่ที่จะทำให้ความผันเป็นจริงด้วย เหตุนี้ เวลามีผู้มาถามผมว่าผลตอบแทนแต่ละปีออกมาเท่าใด ผมจึงต้องทำให้ผู้ถามเข้าใจเสียก่อนว่า การคำนวณผลตอบแทนของผม อาจจะแตกต่างกับผู้ที่ต้องการวัดในเชิงของ Capital Appreciation เพราะผลตอบแทนที่ผมพูดถึงคือ อัตราร้อยละของเงินปันผลทั้งหมดที่ได้รับหารด้วยต้นทุนสุทธิของหุ้นทั้งหมด ที่ถืออยู่ นั่นคือ




Dividend
Yield = -------------------------------


Net Investment Cost


Dividend Yield ในพอร์ตของผมไม่ใช่ Dividend / Price แต่เป็น Dividend / Cost หมายความว่าหากผมมีกำไรจากการขายหุ้น ผมจะไม่แสดงออกมาในรูป Capital Gain แต่ผมจะนำกำไรนั้นไปหักออกจากต้นทุน คือเป็น Cost Reduction


ที่ ทำเช่นนั้น ผมมีเหตุผลสองอย่างคือ หนึ่ง Cost คือ เงินจริงๆที่ผมลงไปในหุ้น กำไรนั้นผมถือเสมือนหนึ่งว่าผมได้รับเงินส่วนหนึ่งคืนมาจากตลาด เช่นถ้าผมซื้อหุ้นมา 10,000 หุ้นในราคาหุ้นละ 20 บาท หากต่อมาราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปเป็น 30 บาทและผมขายหุ้นออกไป 4,000 หุ้น หุ้นที่เหลือ 6,000 หุ้นจะมีต้นทุนลดเหลือหุ้นละเพียง 13.33 บาทเท่านั้น! กำไรที่ผมได้จากการขายหุ้น 4,000 หุ้น ผมถือว่าได้คืนมาจากตลาด สามารถนำมาลดต้นทุนหุ้นที่ยังถืออยู่


และ สอง ผมต้องการลดความเสี่ยงเพราะรู้สึกปลอดภัยถ้าอยู่ที่ต้นทุนต่ำๆ การที่หุ้นที่ถืออยู่ 6,000 หุ้นมีต้นทุนสุทธิเพียงหุ้นละ 13.33 บาท ในขณะที่ราคาตลาดอยู่ที่ 30 บาท ทำให้ผมไม่ต้องตกใจมากกับคุณหมีที่จะมาเยือน


แม้ ในวันสิ้นปีที่จะต้องปิดบัญชี หากราคาปิดของหุ้นยังยืนอยู่ที่ 30 บาท ผมก็จะมี Book Profit ถึง 100,000 บาท! แต่ Book Profit ก็คือ Book Profit อาจจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ได้ ผมจึงไม่ได้ให้ความสำคัญมากนักสิ่งที่ผมสนใจคือ การเพิ่มประสิทธิภาพของ Dividend Yield ให้สูงขึ้น ถ้า DPS = 2 บาท ผมก็จะมี Dividend Yield เพิ่มจาก 10% เป็น 15% จาก 6,000 หุ้นที่ยังถืออยู่และที่สำคัญคือผมจะได้เงินถึง 120,000 บาทจากการขายหุ้นออกไป 4,000 หุ้น เงินจำนวนนี้จะช่วยให้ผมมีโอกาสไปลงในหุ้นตัวอื่นๆที่ยังมีผลตอบแทนดี


ดัง นั้น จึงอาจมีผู้เข้าใจว่าผมได้ผลตอบแทนจากการลงทุนในปี 2545 เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ตลาดโดยรวมมีอัตราสูงถึง 17 เปอร์เซ็นต์ ความจริงก็คือ ผมคิดในแง่ของ Dividend Yield อย่างเดียวเป็นหลัก ไม่ได้คิดถึง Capital Gain เลย ส่วนการคำนวณผลตอบแทนจากตลาดนั้นผมเข้าใจว่าวัดจาก Capital Appreciation จากวันต้นปีกับวันสิ้นปีทั้งนี้โดยรวมถึง Dividend ไว้ด้วยแล้ว


ผม คิดว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพูดถึงความแตกต่างในแนวคิดของกลยุทธ์ทั้งสาม ให้ชัดเจน เพราะจะทำให้การอธิบายและการชี้แจงทำได้ง่ายขึ้น


การ เลือกเดินตามกลยุทธ์หุ้นห่านทองคำทำให้ผมรู้สึกปลอดภัยและมี Peace of Mind ไม่ต้องใจเต้นไปกับกระแส แต่ ณ วันที่ผมเริ่มเป็นไทได้อย่างสมบูรณ์ ผมอาจจะแบ่งเงินใน Port ส่วนหนึ่งไปลงในหุ้นแบบ Value Investing บ้าง


ส่วนจะแบ่งไปลงทาง Trading ด้วยหรือไม่นั้น เวลาเท่านั้นครับที่จะบอกได้

No comments:

Post a Comment