Sunday 1 March 2009

ช่องทางการลงทุน: ตอนตราสารหนี้

ตราสารหนี้ (ตราสารแห่งหนี้) (debt instrument หรือ fixed income securities) คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ออกตราสารซึ่งเรียกว่า ผู้กู้หรือลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวดๆ และเงินต้น หรือผลประโยชน์อื่นๆ ตามข้อกำหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเรียกว่า ผู้ให้กู้หรือเจ้าหนี้ เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ โดยระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนของตราสารหนี้นั้นจะมีตั้งแต่ระยะสั้น (ไม่เกินหนึ่งปี) ระยะปานกลาง (หนึ่งถึงห้าปี) ไปจนถึงระยะยาว (เกินห้าปีขึ้นไป) กรณีตราสารหนี้ในตลาดทุนโดยทั่วไปมักจะหมายถึงตราสารที่มีอายุไถ่ถอนมากกว่า หนึ่งปีขึ้นไป โดยผู้ซื้อจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย ส่วนลดรับ หรือผลประโยชน์อื่นตามที่ได้มีการกำหนดไว้


การใช้คำว่า “ตราสารหนี้” ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเปลี่ยนมือของผู้ถือ (นักลงทุนในตราสารหนี้) ซึ่งแตกต่างจากสัญญากู้ยืมที่แสดงความเป็น “เจ้าหนี้” และ “ลูกหนี้” ของผู้ให้กู้กับผู้กู้เงิน เหมือนกัน แต่สัญญากู้ยืมเงินนั้นขาดความสามารถในการเปลี่ยนมือของความเป็น “เจ้าหนี้” ระหว่างนักลงทุนทั้งนี้การเปลี่ยนมือของตราสารหนี้ระหว่างนักลงทุนนั้น สามารถทำผ่านกลไกตลาดรอง (secondary market) ได้ ซึ่งปัจจุบันตลาดรองของตราสารหนี้ก็คือ BEX (Bond Electronic Exchange) ที่ดำเนินการโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตามความหมายข้างต้น แสดงว่าตราสารหนี้ก็คือ ตราสารทางการเงินชนิดหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่ต้องการเงินทุน (ผู้กู้) และผู้ที่มีเงินทุนแต่ต้องการผลตอบแทน (ผู้ให้กู้) ผูกพันกัน โดยมีข้อกำหนดต่างๆ ที่ระบุในสัญญาหุ้นกู้ (indenture) เป็นกฎกติการ่วมกัน อีกทั้งตราสารหนี้ยังสามารถเปลี่ยนมือกันได้ในตลาดรองคล้ายๆ กับการซื้อขายหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์

ตราสารหนี้ เป็นศัพท์กว้างๆ แต่ที่ท่านอาจคุ้นเคยมากกว่า คือ “พันธบัตร” และ “หุ้นกู้” โดยพันธบัตร มักใช้เรียกตราสารหนี้ ที่ออกโดยรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ และมักเรียกว่าหุ้นกู้เมื่อออกโดยบริษัทเอกชน แต่ในต่างประเทศใช้คำว่า “Bond” สำหรับตราสารหนี้ทั่วไปทั้งที่ออกโดยรัฐและเอกชน มีในบางกรณีที่เรียกว่า “Debenture”เมื่อตราสารหนี้นั้นไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน


Image

Image
1. มูลค่าที่ตราไว้ (Par value)
หมายถึง มูลค่าที่ผู้กู้จะต้องชำระคืนให้กับผู้ถือตราสารหนี้นั้น เมื่อครบกำหนด เช่น 1,000 บาท หรือ 10,000 บาท
Image 2. อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon rate)
คือ อัตราดอกเบี้ยที่ ผู้ออกมีภาระที่จะต้องจ่ายให้กับผู้ถือตราสารหนี้นั้น ๆ ตามงวดการจ่ายดอกเบี้ยที่กำหนดตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น
Image 3. งวดการจ่ายดอกเบี้ย (Coupon frequency)
คือ จำนวนครั้ง ของการจ่ายดอกเบี้ยต่อปี ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของผู้ออก ตราสารหนี้ เช่น กำหนด ให้มีการจ่ายดอกเบี้ยทุกครึ่งปี เป็นต้น
Image
4. วันหมดอายุหรือวันครบกำหนดไถ่ถอน (Maturity date)
หมายถึง วันหมดอายุของตราสารหนี้นั้น ซึ่งผู้ออกจะต้องจ่ายคืนเงินต้นและ ดอกเบี้ยงวดสุดท้าย (ถ้ามี) ให้กับผู้ถือ

Image
5. ชื่อผู้ออก (Issue)
คือ ผู้ออกตราสารหนี้นั้นซึ่งอยู่ใน สถานะเป็นผู้กู้หรือลูกหนี้นั่นเอง
Image 6. ประเภทของตราสารหนี้
คือ ข้อมูลที่ระบุประเภทของตราสาร หนี้นั้น เช่น หุ้นกู้ไม่มีประกัน หุ้นกู้ด้อยสิทธิ/ไม่ด้อยสิทธิ หุ้นกู้แปลงสภาพ เป็นต้น
Image 7. ข้อสัญญา (Covenants)
หมายถึง เงื่อนไขที่ผู้ออกจะต้องปฏิบัติตามหรืองดเว้นการปฏิบัติตลอดอายุของหุ้นกู้ เช่น การห้ามจ่ายเงินปันผลแก่ ู้ถือหุ้นสามัญเกินอัตราที่กำหนด การดำรงสัดส่วนของหนี้สินต่อทุนไม่เกิน อัตราที่กำหนด ข้อสัญญาอาจรวมถึงการจำกัดด้านการบริหารของผู้ออก เช่น การห้ามรวมกิจการ เป็นต้น

ตราสารหนี้จัดว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการลงทุน ซึ่งขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนักลงทุนว่าจะให้ความสนใจต่อช่องทางนี้มาก น้อยเพียงใด โดยพิจารณาจากผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับและระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับ ได้ ส่วนเหตุผลที่ผู้ลงทุนส่วนใหญ่เลือกที่จะลงทุนในตราสารหนี้ สามารถสรุปได้ดังนี้

1. เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำเมื่อเทียบกับตราสารทุน
เพราะได้กำหนดอัตราผลตอบแทนที่ค่อนข้างแน่นอน นักลงทุนสามารถประมาณการณ์กระแสเงินสดที่พึงจะได้รับในอนาคตได้

2. ได้รับผลตอบแทนที่ค่อนข้างคงที่และสม่ำเสมอ
เพราะตราสารหนี้มีการกำหนดจ่ายคูปองไว้ล่วงหน้า

3. เป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน
เนื่องจากการลงทุนในตราสารทุนไม่สามารถประมาณการรายได้จาก เงินปันผลหรือส่วนต่างกำไร (capital gain/loss) ที่แน่นอนได้ และปกติตราสารหนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านราคา (volatility) น้อยกว่าตราสารทุน

4. มีตลาดรองรองรับ (Marketability)
การซื้อขายเปลี่ยนมือ และหากเป็นตราสารที่มีคุณภาพดี เช่น ผู้ออกตราสารเป็นรัฐบาลหรือบริษัทเอกชนที่มีฐานะการเงินมั่นคง ก็จะทำให้ตราสารหนี้นั้นมีสภาพคล่อง (liquidity)

5. ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการดำรงสินทรัพย์
สภาพคล่องตามกฎหมายสำหรับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน

6. สามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ
เช่น ใช้ค้ำประกันธุรกิจ ค้ำประกันผู้ต้องหา ใช้ในการบริหารเงินนอกงบประมาณสำหรับหน่วยราชการ เป็นต้น ทั้งนี้ข้อ 5 และข้อ 6 จะเป็นในกรณีเฉพาะตราสารหนี้จากภาครัฐ


ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน

ตราสารหนี้ Image
ตราสารทุน Image
1. สิทธิในการเรียกร้อง
(Priority Claim)
ผู้ถือตราสารหนี้ซึ่งอยู่ในฐานะเจ้า หนี้ีสิทธิในการเรียกร้องสูงกว่าผู้ถือตราสารทุน ซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าของ บริษัท หากบริษัทมีปัญหาทางการเงินหรือถูกฟ้องล้มละลาย บริษัทจะต้องขาย ทอดตลาดสินทรัพย์ และชำระบัญชี โดยนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดชำระคืนให้แก่ผู้ถือตราสารหนี้ ก่อนผู้ถือตราสารทุน ผู้ถือตราสารทุนซึ่งอยู่ ในฐานะเจ้าของบริษัทมีสิทธิในการเรียกร้องต่ำกว่าผู้ถือตราสารหนี้ โดยจะได้รับ ชำระเมื่อบริษัทชำระคืนให้แก่ผู้ถือตราสารหนี้(เจ้าหนี้)ครบถ้วนแล้ว
2. ความเป็นเจ้าของ
(Ownership)
ผู้ถือตราสารหนี้ไม่มีสิทธิออกเสียง ในการประชุมหรือการตัดสินใจ
ในการดำเนินงานของบริษัทเนื่องจากอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ไม่ใช่เจ้าของบริษัท
ผู้ถือตราสารทุน มีสิทธิออกเสียง ในการประชุมหรือการตัดสินใจ
ในการดำเนินงานของบริษัทเนื่องจากอยู่ในฐานะเจ้าของบริษัท
3. ผลตอบแทน
(Return)
ตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนที่ค่อน ข้างสม่ำเสมอ ในรูปกระแสเงินสดที่เป็นดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่กำหนด ตราสารทุนให้ผลตอบแทนที่อาจ ไม่สม่ำเสมอในรูปกระแสเงินสดที่เป็นเงินปันผลซึ่งขึ้นอยู่กับ ผลกำไรและนโยบายของบริษัท
4. อายุของตราสาร มีระยะเวลาที่กำหนดไว้แน่นอน กล่าวคือ มีอายุจำกัด อายุของตราสารทุนไม่จำกัด
รายได้จากดอกเบี้ย
กำไรจากการขาย
รายได้จากส่วนลด
Image หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
และมีสิทธิเลือกที่จะ
ไม่นำไปรวมคำนวณภาษี
รายได้สิ้นปี
หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% และมีสิทธิเลือกที่จะ
ไม่นำไปรวมคำนวณภาษี รายได้สิ้นปี (ยกเว้น
ตราสารหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ยซึ่งได้หักภาษี ณ ที่จ่าย
15% ไปแล้วจากผู้ถือคนแรก)
หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เฉพาะผู้ถือคนแรก
และมีสิทธิเลือกที่จะ ไม่นำไปรวมคำนวณ ภาษีรายได้สิ้นปี

No comments:

Post a Comment