Sunday 1 March 2009

แผนการเงินเหมาะสมกับใครบ้าง?

ผู้คนจำนวนมากอยากจะมีแผนการลงทุนที่ดี แต่สำหรับคนที่มีมากหรือพวกที่ร่ำรวยอยู่แล้วก็มักจะหันไปหานักวางแผนการ เงินเป็นส่วนใหญ่ แต่ในความเป็นจริงคนที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจ อาจจะมีความต้องการมากกว่าคนที่ร่ำรวยอยู่แล้ว เพราะเงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้มา หรือมูลค่าของเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้น มีความหมายกับคนเหล่านั้นมากกว่าบรรดาเศรษฐีทั้งหลายอย่างแน่นอน และด้วยการศึกษาที่สูงขึ้น การมุ่งมั่นทำงานหนัก ตามมาด้วยความสำเร็จ ก็ยิ่งทำให้ คนทำงานต่างต้องการที่จะได้แผนการเงินและการลงทุนที่แยบยลมากกว่าที่เคยเป็น โดยดูได้จากตัวเลขของคนที่มีรายได้ที่มากพอ มีทรัพย์สิน หรือผู้ที่ได้รับมรดก ที่หันมาใช้บริการของการวางแผนในเรื่องของการลงทุน การวางแผนในเรื่องภาษี หรือการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด


ภาพรวมของการวางแผนการเงิน ประกอบไปด้วย การสร้างแบบแผนพิเศษหลายลักษณะ ยกตัวอย่างเช่น การวางแผนการลงทุน ซึ่งเน้นการเพิ่มและสะสมมูลค่าของทรัพย์สิน รวมทั้งการบริหารพอร์ตการลงทุนทั้งหมด การวางแผนภาษี คือการวางแผนลดภาระภาษี ปรับถ่ายเท หรือเลื่อนกำหนดการเสียภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนการบริหารอสังหาริมทรัพย์ เน้นหนักในเรื่องของการวางแผนการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ให้กับทายาท หรือผู้รับมรดก ทั้งในช่วงระหว่างที่ยังคงมีชีวิตอยู่และหลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ของบุคคลนั้นโดยมูลค่าของทรัพย์สินไม่ลดลง ไปจากเดิม ในขณะเดียวกัน การทำประกันชีวิต คือการใช้ประโยชน์สูงสุดของกรมธรรม์ประกันชีวิตและสุขภาพ ซึ่งบริษัทประกันก็มักจะนำเสนอสินค้าอื่นๆที่น่าจะช่วยทำให้บรรลุถึงความ ต้องการของการลงทุน ไม่ว่าจะเป็น กองทุนรวมหรือการสะสมทรัพย์รายปีต่างๆ (Annuities)


นักวางแผนการเงิน (Financial Planner) นักการธนาคาร นายหน้าหรือ broker นักกฎหมาย นักบัญชี และตัวแทนประกันภัย ต่างก็มีส่วนในการช่วยทำให้ลูกค้าบรรลุถึงเป้าหมายทางการเงินได้ ซึ่งลูกค้าเองก็อาจจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับบุคคลเหล่านี้ทั้งหมด เพื่อให้ได้คำแนะนำที่ดีที่สุดจากผู้ชำนาญการแต่ละส่วน จึงอาจกล่าวได้ว่าการร่วมมือกันของแต่ละฝ่ายถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้การ วางแผนการเงินประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี ดังนั้นรูปแบบของการนำเสนอของการวางแผนทางการเงิน จึงอาจจะต้องเป็นลักษณะที่เรียกว่า “การนำเสนอภาพรวม” comprehensive approach โดยนำเอาพื้นฐานสำคัญๆของแต่ละส่วนมารวมกัน ซึ่งพัฒนาและรู้จักกันดีในรูปแบบของ “การวางแผนการเงินส่วนบุคคล” personal financial planning

No comments:

Post a Comment