Wednesday 18 March 2009

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) VS กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)


งานธนาคาร

หลาย คนอาจสับสนว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) กับกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เหมือนกันหรือไม่ แตกต่างกันอย่างไร ถึงแม้ชื่อภาษาไทยฟังดูคล้ายกัน แต่ในความหมายแล้วไม่ใช่อย่างเดียวกันแน่นอน ซึ่งสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ดังนี้

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) เป็นการเก็บออมเงินทางหนึ่ง โดยนายจ้างและลูกจ้างทำร่วมกัน ในแต่ละเดือนนายจ้างจะหักเงินเดือนส่วนหนึ่งของลูกจ้างเพื่อนำไปเข้ากองทุน สำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเงินในส่วนของลูกจ้าง เรียกว่า เงินสะสม ในขณะเดียวกันนายจ้างก็ต้องสมทบเพิ่มเข้าไปด้วย เรียกเงินในส่วนของนายจ้างว่า เงินสมทบ นั่นคือ นอกจากลูกจ้าง จะออมแล้ว นายจ้างยังช่วยออมอีกแรงหนึ่งด้วย และนายจ้างจะจ่ายสมทบในจำนวนเท่ากันหรือมากกว่าที่ลูกจ้างจ่ายสะสมเสมอ จึงอาจกล่าวได้ว่าการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้ สวัสดิการแก่ลูกจ้าง จึงช่วยสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างทำงานให้กับนายจ้าง

ลูกจ้าง จะได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ก็ต่อเมื่อลาออกจากบริษัท โดยจะได้รับเงินสะสมเต็มจำนวน ส่วนเงินสมทบจะได้รับตามเงื่อนไขของนายจ้างที่ตกลงกับลูกจ้างเอาไว้ตั้งแต่ แรก เช่น

อายุงานน้อยกว่า 1 ปี จะได้รับเงินสมทบ ร้อยละ 10
อายุงานตั้งแต่ 1 ปี - 5 ปี จะได้รับเงินสมทบ ร้อยละ 50
อายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสมทบ ร้อยละ 100

ใน ระหว่างการออมเงินนี้ ลูกจ้างไม่สามารถเบิกเงินก้อนนี้ออกไปใช้ได้ เนื่องจากวัตถุประสงค์คือการเก็บออมเพื่อให้ลูกจ้างมีเงินเก็บไว้สำหรับใช้ ในยามเกษียณ

สำหรับกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ(Retirement Mutual Fund หรือ RMF) เป็น การออมเงินระยะยาวที่นักลงทุนสมัครใจที่จะออมเอง ด้วยอาจเห็นว่าเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังมีไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต หลังเกษียณ อีกทั้งเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนผ่านกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพยัง สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ถึง 500,000 บาทต่อปี โดยผู้ลงทุนต้องซื้อหน่วยลงทุน RMF อย่างต่อเนื่องทุกปี หรือปีเว้นปี และเงินที่ลงทุนต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 % ของรายได้ต่อปี หรือ ไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี ทั้งนี้จำนวนสูงสุดที่ลงทุนได้ต้องไม่เกิน 15 % ของรายได้ต่อปี และเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข) แล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท

นอกจากนี้ ผู้ลงทุนจะต้องถือหน่วยลงทุน RMF ไปจนถึงอายุ 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ และเงินที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุน RMF จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ เมื่อคุณได้ถือหน่วยลงทุนนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

เนื่อง จากกอง RMF เป็นกองทุนระยะยาว จึงเปิดโอกาสให้เปลี่ยนนโยบายการลงทุนได้ และยังสามารถโอนย้ายข้ามไปยัง บลจ.อื่นได้ ท่านสามารถเลือกลงทุนได้หลายกองทุนด้วยกันขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่คุณได้ รับ เริ่มจากความเสี่ยงระดับน้อยมาก ๆ ก็เน้นลงลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ ไปจนถึงกองทุนที่มีความเสี่ยงที่สูง ก็ลงทุนในตราสารทุน เช่นช่วงที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูง ท่านที่ลงทุนในกองทุนหุ้นก็สามารถสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนมาที่กองทุนตราสาร หนี้ได้

โดยสรุปทั้งสองกองทุนมีวัตถุประสงค์ เพื่อการเก็บออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณทั้งคู่ แต่มีรูปแบบการออมที่แตกต่างกัน Provident Fund เป็นการออมเงินร่วมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง แต่ RMF เป็นการลงทุนที่นักลงทุนตัดสินใจเอง เลือกกองทุนและระดับความเสี่ยงเอง เป็นการเพิ่มโอกาสในการออมเงินนอกเหนือไปจากเงินออม Provident Fund

จัดทำงบประมาณ สร้างวินัยทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ


งานธนาคาร

ผู้ ที่จะสามารถบริหารการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการจัดทำงบประมาณ รู้ว่าในแต่ละเดือนจะมีรายได้เข้ามาเท่าไร และจะต้องจ่ายค่าอะไรออกไปเท่าไร และเมื่อใดในแต่ละเดือน ทั้งนี้ก่อนจะจัดทำงบประมาณจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับงบประมาณในส่วน ต่าง ๆ ทั้งรายรับ รายจ่าย เงินหมุนเวียน และเงินสำรอง เพื่อให้สามารถจัดการกับเงินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

  • ศึกษาและปรับแต่งงบประมาณ

ค่อย ๆ ศึกษาและเรียนรู้วิธีปรับแต่งงบประมาณในแต่ละส่วน เพื่อให้เกิดการคาดการณ์ที่แม่นยำที่สุด หากมีค่าใช้จ่ายในส่วนใดที่สูงหรือต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ ก็สามารถปรับเพิ่มงบประมาณในส่วนที่ขาด และลดงบประมาณในส่วนที่เหลือได้อย่างเหมาะสม นั่นคือการรู้จักโยกงบประมาณเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ถ้าค่าเดินทางในแต่ละเดือนสูงกว่าที่คุณตั้งงบประมาณไว้ติดกัน 3 เดือน คุณอาจปรับเพิ่มงบสำหรับส่วนนี้ให้มากขึ้น โดยอาจตัดออกมาจากงบค่าโทรศัพท์ หากในแต่ละเดือนคุณใช้งบในส่วนนี้ต่ำกว่าที่ตั้งไว้ หรืออาจตัดออกจากงบส่วนอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็นมากนัก

  • ยืดหยุ่นแต่อย่าฟุ่มเฟือย

แม้ ว่าคุณได้ตั้งงบเพื่อวางแผนการใช้จ่ายไว้แล้ว คุณควรสร้างความยืดหยุ่นให้ตัวเองด้วย อย่าปิดกั้นโอกาสที่จะได้บางอย่างที่คุ้มค่า เพราะคุณเข้มงวดกับค่าใช้จ่ายมากเกินไป บางครั้งคุณอาจให้เงินเกินงบไปบ้างเพื่อแลกกับบางอย่างที่น่าสนใจ แต่มิใช่ใช้จ่ายโดยขาดความยับยั้งชั่งใจไปกับรายการฟุ่มเฟือยต่าง ๆ

  • เงินหมุนเวียนอย่าให้ขาด

หลัก ในการตั้งงบประมาณก็คือ กำหนดตัวเลขค่าใช้จ่ายให้สูงเกินจริง ในขณะที่ตั้งรายได้ให้ต่ำกว่าความเป็นจริงเสมอ ซึ่งจะช่วยคุณสร้างความมั่นใจว่าคุณจะมีเงินเหลือจากที่ตั้งงบไว้ นั่นคือมีรายรับเข้ามามากกว่ารายจ่าย และควรกันเงินส่วนเกินไว้สำหรับเป็นเงินสดหมุนเวียน เพื่อไม่ให้คุณขาดสภาพคล่อง เมื่อต้องมีการใช้จ่ายแบบฉุกเฉินนอกรายการที่คุณจำเป็นต้องจ่ายตามปกติ

  • อดออมประหยัด

ควร สำรวจค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นอย่างสม่ำเสมอทุกเดือนเพื่อหาทางประหยัดงบ ประมาณให้ได้มากที่สุด เพราะมักจะมีค่าใช้จ่ายที่เกินความคาดหมายโผล่มาอยู่บ่อยครั้ง หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดีแล้วละก็ อาจประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินได้ ดังนั้นเมื่อมีรายรับเข้ามา ควรหักส่วนหนึ่งของรายรับทุกรายการเก็บเป็นเงินออม หรือนำไปลงทุนให้งอกเงยเพิ่มมูลค่า

สร้างวินัยทางการเงิน ด้วยการจัดทำงบประมาณในแต่ละเดือนให้มีประสิทธิภาพสูงสุด คุณจะสามารถวางแผนการใช้จ่ายและการออมเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำเงินก้อนไปใช้เพื่อลงทุน หรือเก็บไว้ใช้ยามเกษียณได้อย่างสบายใจไร้กังวล

จัดการกับหนี้สินเชื่ออย่างไรดี


งานธนาคาร



แม้ว่าการ..รูดปรื๊ด..รูดปรื๊ด..จะช่วยให้คุณเกิดความสะดวกสบายในการจับ จ่ายใช้สอย สามารถซื้อสินค้าที่มีราคาสูงได้ และสามารถเป็นเงินสำรองในกรณีฉุกเฉินได้ แต่ก่อนจะเลือกใช้บริการบัตรเครดิตความพิจารณาในรายละเอียดให้รอบคอบเสีย ก่อน

  • อย่า เลือกบัตรจากค่าธรรมเนียมแต่เพียงอย่างเดียว เพราะแต่ละบัตรก็จะให้ข้อเสนอที่แตกต่างกัน ควรพิจารณาสิทธิประโยชน์อื่น ๆ จากการใช้บัตรเครดิตด้วย และเลือกบัตรที่ให้ข้อเสนอที่ดีที่สุด
  • ควร พิจารณาจากค่าธรรมเนียมต่ำสุด หรือไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี และเลือกบัตรที่คิดดอกเบี้ยต่ำกว่า
  • บริษัท บัตรเครดิตมักจะจัดแคมเปญสะสมแต้มเพื่อแลกของสมนาคุณ จูงใจลูกค้าให้ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต คุณอาจพิจารณาจากเกณฑ์การสะสมคะแนน หรือดูจากรายการของรางวัลว่าคุณพึงพอใจหรือไม่ประกอบการตัดสินใจด้วย

ใช้จ่ายผ่านบัตรให้คุ้มค่า

  • โดย ปกติแล้ว จากวันที่คุณใช้จ่ายผ่านบัตรไปจนถึงวันตัดรอบบัญชี คือระยะปลอดดอกเบี้ย คุณสามารถนำเงินสดที่คุณมีไปใช้จ่ายในกรณีที่เร่งด่วนกว่า หรือนำไปฝากธนาคารเพื่อรับดอกเบี้ยก่อนได้ แต่ต้องระวังเมื่อถึงกำหนดจ่ายเงินคุณต้องจ่ายเงินตามกำหนด มิฉะนั้นอาจจะถูกคิดดอกเบี้ยในราคาแพงหูฉี่
  • จด บันทึกวันตัดรอบบัญชี เพื่อที่จะได้ซื้อสินค้าที่มีราคาสูง หลังจากวันตัดรอบบัญชี เพื่อให้คุณมีช่วงเวลาปลอดดอกเบี้ยยาวนานที่สุด

วางแผนให้ดี เมื่อเป็นหนี้สินเชื่อ

  • เมื่อ คุณกลายเป็นคนมีหนี้สิน คุณจำเป็นต้องใช้เงินอย่างระมัดระวังมากกว่าปกติ พยายามลดรายจ่ายต่าง ๆ ที่พอจะลดได้ เช่น ลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย พวกเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เที่ยวให้น้อยลง รับประทานอาหารที่บ้านให้มากขึ้น หากเช่าที่พักอาศัยอาจย้ายที่พักไปอยู่ที่เสียใหม่ที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยลง
  • จ่ายเงินตรงเวลา หรือก่อนเวลาเพียงเล็กน้อย ใช้ช่วงเวลาเครดิตให้ได้นานที่สุด เพื่อให้เงินอยู่กับคุณนานที่สุด
  • จ่าย ค่าบัตรเครดิตให้ครบตามกำหนดเพื่อจะไม่ต้องเสียดอกเบี้ย แต่หากไม่สามารถจ่ายหมดได้ในคราวเดียว ควรเลือกจ่ายบัตรที่คิดดอกเบี้ยแพงสุดก่อน เพื่อให้คุณสามารถรับมือกับดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นได้
  • กู้ สินเชื่อที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันที่คิดดอกเบี้ยต่ำกว่ามาจ่ายสินเชื่อบัตร เครดิต จะทำให้คุณจ่ายดอกเบี้ยถูกลง แต่คุณต้องมั่นใจได้ว่าคุณจะสามารถจ่ายหนี้สินเชื่อรถหรือบ้านได้ ไม่อย่างนั้นอาจจะสูญทรัพย์สินค้ำประกันนั้นไปก็ได้

อย่าง ไรก็ดีการทำเงินในอนาคตมาใช้ อาจทำให้คุณใช้จ่ายเกินตัว และเกิดภาระหนี้สินติดพันมากมายจนถึงขั้นหมดเนื้อหมดตัวได้ ดังนั้นก่อนจะทำบัตรเครดิต หรือเป็นหนี้เงินกู้ต่าง ๆ ควรคิดให้รอบคอบ และประเมินตัวเองว่ามีความสามารถที่จะจัดการกับหนี้สินที่จะเกิดขึ้นได้จริง ๆ หรือไม่

Tuesday 3 March 2009

The Quant & The Tactical - ตลาดจะตอบสนองไวต่อข่าวลบ

The Quant & The Tactical - ตลาดจะตอบสนองไวต่อข่าวลบ
- เราคาดว่าตลาดไทยเริ่มจะหมดข่าวดีหลังประกาศจ่ายเงินปันผลประจำปี
-ตลาดจะ sensitive ต่อข่าวลบมากขึ้น โดยข่าวลบจะมาทั้งจากภายนอก และภายในประเทศ
-สภาพคล่องทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนจะตึงตัวมากขึ้น หลายบริษัทจะมีปัญหาเงินทุนหมุนเวียนจากการที่แบงก์ชะลอการปล่อยสินเชื่อ
-เศรษฐกิจที่เลวร้ายกว่าที่คาด และผลกระทบต่อตลาดแรงงาน และกำลังซื้อภายในประเทศจะทำให้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนแย่กว่าคาด…
- ...นักวิเคราะห์ในตลาดน่าจะต้องปรับลดประมาณการลงอีกรอบหนึ่ง
- คำแนะนำเชิง Tactic – เพิ่มเงินสด โดย “ขาย” บริษัทที่จะมีสภาพคล่องทางการเงินตึงตัว หรืออาจถูกปรับลดประมาณการลง
- หุ้นแนะนำใน 2-4 สัปดาห์ข้างหน้า :“ขาย” SCC, THCOM, THAI, AH และเดินเรือ, “สะสม” BANPU และ ADVANC เมื่อราคาอ่อนตัว

Monday 2 March 2009

Dow Jones และน้ำมันลบแรงวันนี้ หุ้นไทยเสี่ยงที่จะถูกขายทำกำไร

-ปัจจัยภายนอกจะมีผลกดดันตลาดไทยวันนี้ หุ้นกลุ่มสถาบันการเงินในสหรัฐลดลงแรงจากความไม่มั่นใจในแผนกอบกู้ระบบการเงิน

-ทำให้น่าจะมีแรงขายในกลุ่มแบงก์ของไทยวันนี้เพราะเป็นกลุ่มที่ราคาปรับขึ้นมาใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา

-เราแนะนำ “ขาย” BAY (outperformed ตลาด 1% ใน 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา)

-“ขายทำกำไร” SCIB (outperformed 1.6%), SCB (outperformed 4.4%), BBL (outperformed 1.4%) การซื้อ SCB และ BBL ซึ่งเป็น Top BUYs ของ TNS กลับ ควรรอราคาที่แนวรับ

-นอกจากนี้ หุ้นที่น่าจะถูกขายวันนี้ คือหุ้นพื้นฐานอ่อนแอที่ราคาปรับขึ้นมากใน 1 สัปดาห์ - PSL (30%), THAI (+9.9%), PTTAR (+8.9%), TTA (+10.6%)

-ส่วน TOP ที่ธุรกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวใน 1Q09 ก็น่าจะถูกขายทำกำไรเพราะราคาปรับขึ้นมาถึง 11% ใน 1 สัปดาห์

-ระยะสั้น – ตลาดไทยยังเป็นตลาดสำหรับ trade

-ระยะปานกลาง-ยาว – “หาจังหวะสะสม” หุ้นดีที่ราคาถูกกว่าพื้นฐานมาก (หุ้น valued stocks)

Development: 64% y-y growth in 4Q08 recurring earnings in line with our expectation

Development: 64% y-y growth in 4Q08 recurring earnings in line with our expectation

• TTW reported recurring earnings of THB387m in 4Q08, up 64% y-y and 8% q-q. This came in line with our expectation. Earnings growth was driven by sales volume growth and a drop in interest expenses.

• Revenue grew 18% y-y and 3% q-q. TTW’s sales volume in 4Q08 grew 8% y-y but it dropped 0.4% q-q due to low seasons while PTW’s sales volume grew 8% y-y and 0.7% q-q. The average water tariff increased 10% y-y and 3.2% q-q in 4Q08 as 20% increase in minimum off-take quantity on July 21, 2008 allowed the company to charge PWA at full tariff for additional 50,000 cubic maters.

• Gross margin improved to 68% in 4Q08 from 67% in 4Q07 and 65% in 3Q08 due to an increase in the average water tariff.

• We like the company for long-term investment as tap water business is resilient to economy slowdown. The company’s sales volume is also guaranteed by the government (Provincial Waterwork Authority). A concern on deflation to impact the company’s water tariff adjustment could be offset by a fall in interest expenses as the company has now issued THB7b bonds to refinance its debts and fund its expansion project. There would be one-time early debt repayment fee of around THB120m booked in 1Q09 but the company will benefit in long term as its average coupon rates for the bonds would be around 4.6% while its current interest rate is 5.25%.

• With a full-year benefit from an increase in minimum off-take quantity, an increase in water tariff and a fall in interest expenses, we forecast TTW’s recurring earnings to grow 36% y-y in 2009. Our BUY call is maintained with a target price of THB5.6.

ภาวะเงินฝืด (Deflation) คืออะไร ทำไมหลายคนถึงกลัวภาวะเงินฝืด

ภาวะเงินฝืดคืออะไร

ภาวะเงินฝืด หรือที่เรียกว่า Deflation คือภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อยๆ โดยปกติ อาการของภาวะเงินฝืดที่เห็นได้ชัดคือ เราจะเห็นตัวเลขเงินเฟ้อที่เป็นตัวเลขติดลบ โดยตัวเลขที่ติดลบดังกล่าว จะต้องมีสาเหตุมาจากการที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงเรื่อย ๆ ไม่ใช่เกิดขึ้นแค่ในสินค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งความน่ากลัวของภาวะเงินฝืดจะไม่ได้อยู่ที่ว่าตัวเลขอัตราเงินเฟ้อมีค่า เป็นลบแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องประกอบไปด้วยเงื่อนไขอื่น ๆ อีก ซึ่งจะได้กล่าวถึงในส่วนต่อไป โดยจะขออธิบายก่อนว่าภาวะเงินฝืดนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร

ภาวะเงินฝืดเกิดขึ้นได้อย่างไร

สาเหตุของภาวะเงินฝืด หรือสาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าและบริการลดลงเรื่อย ๆ นั้น มาได้จากทั้งด้านอุปทาน (Supply side) และด้านอุปสงค์ (Demand side) โดยด้านอุปทานได้แก่ การเกิดการเพิ่มของผลผลิตอย่างมากมายในระยะเวลาอันสั้น ดังที่ได้กล่าวแล้วในเรื่องของอุปสงค์และอุปทานที่ว่า หากอยู่ ๆ สินค้ามีจำนวนมากขึ้น เช่น อาจเกิดจากผลิตภาพการผลิตหรือที่เรียกว่า productivity เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น เราอาจเคยใช้คน 4 คน ผลิตแก้ว 4 ใบ แต่ตอนนี้แรงงานเราเก่งขึ้น ทำให้ใช้แค่ 3 คน ก็ผลิตแก้ว 4 ใบเท่าเดิมได้ อันนี้ก็ทำให้ต้นทุนการผลิตแก้วถูกลง และทำให้ราคาแก้วถูกลง เป็นต้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นของ productivity นี้ อาจเกิดจากผลของการพัฒนาเทคโนโลยี เช่น การเกิดขึ้นของ Internet ที่มีผลทำให้โลกเราอยู่ใกล้กันแค่เพียงปลายนิ้วสัมผัส หรืออยู่ ๆ มีแรงงานราคาถูกจำนวนมหาศาลเข้ามาในตลาดแรงงาน สิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าปรับลดลง และมีผลทำให้ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปปรับลดลงตามไปด้วย

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในช่วงที่ผ่านมาได้แก่ การเปิดประเทศของจีน ซึ่งทำให้มีแรงงานชาวจีนที่ค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ โดยเปรียบเทียบ เข้ามาผลิตสินค้าในตลาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งตัวอย่างของสินค้าเช่น เราอาจเห็นเสื้อผ้า กระเป๋า รวมทั้งสินค้าอื่นๆ อีกมากมายที่แม้เราจะซื้อมาจากประเทศในยุโรป แต่เมื่อพลิกป้ายดูจะพบว่า Made in China หรือผลิตในจีนแทบทั้งสิ้น ทั้งนี้ ก็เพราะว่าค่าแรงงานของคนจีนถูกกว่าการจ้างคนที่ยุโรปผลิต หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือที่เราอาจเคยได้ยินกันว่าที่ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น หากเราโทรศัพท์ไป Call center ของบริษัทบางบริษัทจะพบว่าคนที่รับโทรศัพท์นั้น นั่งทำงานอยู่ที่ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นอีกประเทศที่มีประชากรมหาศาลและมีค่าแรงงานถูก โดยลือกันว่าค่าใช้จ่ายจ้างคนรับสาย Call center ที่ประเทศอินเดียนั้นถูกกว่าจ้างคนที่นั่งอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกามาก เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ไม่น่าแปลกใจว่าในช่วงตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาจนเกือบถึงต้นปี 2551 ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปของเกือบทุกประเทศทั่วโลกจึงถูกลง (ยกเว้นราคาน้ำมัน ซึ่งมีเรื่องของอำนาจเหนือตลาด หรือ Market power ของกลุ่ม OPEC และเรื่องของข้อจำกัดของแหล่งผลิตน้ำมันเข้ามาเกี่ยวข้อง) และทั้งโลกก็มีตัวเลขเงินเฟ้อที่ค่อนข้างต่ำมาโดยตลอด ซึ่งหากภาวะเงินฝืดเกิดจากการเพิ่มขึ้นของ productivity ซึ่งเป็นด้านอุปทาน จะไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว เพราะเงินฝืดประเภทนี้จะไม่ทำให้คนตกงานและส่งผลกระทบต่อรายได้ของคน เนื่องจากไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งแตกต่างจากภาวะเงินฝืดอีกประเภทหนึ่งคือ ภาวะเงินฝืดที่มีสาเหตุมาจากด้านอุปสงค์

ภาวะเงินฝืดที่มาจากด้านอุปสงค์ หรือ Demand side คือสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์กลัว โดยอาการของภาวะเงินฝืดนั้น จะเห็นว่าราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปลดลงและทำให้เงินเฟ้อติดลบเช่นกัน แต่คราวนี้ การติดลบเกิดจากความต้องการบริโภคของผู้คนที่ลดลง เช่นเกิดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ คนตกงาน คนไม่มีรายได้จะจับจ่ายใช้สอย คนขายสินค้าจึงลดราคาสินค้าลงเพื่อให้ยังขายได้ โดยการติดลบของเงินเฟ้อจะน่ากลัวและมีผลต่อเศรษฐกิจได้ จะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขอีก 2-3 ประการได้แก่

(1) ราคาสินค้าและบริการลดลงโดยทั่วไป ไม่ได้เกิดขึ้นจากสินค้าหรือบริการในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการบริโภคที่ลดลง

(2) ราคาสินค้าและบริการลดลงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จนทำให้ผู้คนชะลอการบริโภคและการลงทุนออกไป โดยหวังว่า (Expect) ราคาสินค้าและบริการจะถูกลงไปอีก

(3) เมื่อคนคิดเหมือน ๆ กันคือรอให้ราคาสินค้าถูกลง โดยคิดว่า “ถ้าซื้อพรุ่งนี้ ราคาน่าจะถูกกว่าซื้อวันนี้” ในที่สุดจะส่งผลทำให้สินค้าของผู้ผลิตขายไม่ออก ก็เริ่มมีสินค้าเหลือในสต็อก ผู้ผลิตเริ่มขาดทุน และเริ่มปลดคนงานออก คนก็เริ่มตกงาน เมื่อตกงานก็ไม่มีกำลังซื้อไปซื้อสินค้า ก็ทำให้ผู้ผลิตขาดทุนขายของไม่ออกไปอีก และในที่สุดก็ทำให้ภาวะเศรษฐกิจถดถอยติดต่อกันไปอีกหลายปี

ภาวะ ดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า Downward spiral ซึ่งเป็นวงจรที่ไม่มีใครอยากให้เกิด โดยภาวะดังกล่าว เคยเกิดขึ้นที่เห็นเด่นชัดคือ การเกิดภาวะเงินฝืดในสหรัฐอเมริกาเมื่อทศวรรษที่ 1930 ที่เรียกว่า Great depression และอีกครั้งที่ชัด ๆ คือ ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2545 ซึ่งมีผลทำให้เศรษฐกิจตกต่ำต่อเนื่องไปอีกหลายปี

อีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการลดลงของราคาสินค้าและบริการคือ คำว่า Disinflation ซึ่งจะหมายถึงภาวะที่ตัวเลขเงินเฟ้อยังมีค่าเป็นบวก แต่มีค่าที่เป็นบวกลดลงเรื่อย ๆ เช่น เงินเฟ้อของไทยในเดือนกรกฎาคม 2551 อยู่ที่ร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในปีก่อน แต่พอเดือนสิงหาคม 2551 เงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.4 และเดือนถัด ๆ มาอยู่ที่ร้อยละ 6 เป็นต้น

คำถามต่อมาคือ แล้วตัวเลขเงินเฟ้อของไทยล่าสุดแสดงสัญญาณภาวะเงินฝืดหรือเปล่า โดยเฉพาะภาวะเงินฝืดที่มาจากด้านอุปสงค์ ซึ่งพบว่าในปัจจุบัน แม้ตัวเลขเงินเฟ้อของไทยในเดือนมกราคม 2552 จะมีตัวเลขติดลบเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี โดยติดลบที่ร้อยละ 0.4 จากเดือนเดียวกันปีก่อน หรือแปลว่า ราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ยลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.4 แต่เมื่อดูในรายละเอียดจะพบว่าเป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงมากเป็น สำคัญ โดยราคาน้ำมันเบนซิน 91 ที่เดือนมกราคม 2551 เฉลี่ยอยู่ที่ 31.88 บาทต่อลิตร แต่ปีนี้ลดลงถึงร้อยละ 31 มาอยู่ที่เฉลี่ย 21.99 บาทต่อลิตร นอกจากนี้ หากใครติดตามข่าวสารบ้านเมืองจะพบว่าเงินเฟ้อในเดือนมกราคม 2552 ยังได้รับผลจากมติของรัฐบาลชุดก่อนที่จะช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน โดยการ ลดค่าไฟฟ้า ลดค่าน้ำประปา และยังให้ขึ้นรถเมล์ฟรีในกรุงเทพฯ รถไฟฟรีทั่วประเทศ ลดค่าน้ำมันจากการลดการเก็บภาษีสรรพสามิต หรือที่รู้จักกันในชื่อของ "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทยทุกคน" ซึ่งมีผลมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2551 และปัจจุบันคณะรัฐมนตรียังมีมติต่ออายุไปอีก 6 เดือน ทำให้มาตรการนี้เปลี่ยนไปสิ้นสุดลงในเดือนกรกฎาคม 2552 แทน จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมอัตราเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมารวมถึงเดือนปัจจุบันจึงลดลงและไปอยู่ในแดน ลบได้



ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อที่ติดลบทำให้มีหลายหน่วยงานเริ่มพูดถึงคำว่าภาวะเงิน ฝืดว่าอาจจะเกิดขึ้นในเศรษฐกิจไทย และเริ่มมีความกลัวว่าเศรษฐกิจตกอยู่ในภาวะเงินฝืด ซึ่งถามว่า ณ ปัจจุบันนี้ นอกจากตัวเลขเงินเฟ้อที่เป็นลบแล้ว ยังมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ทำให้เราต้องกลัวภาวะเงินฝืดประเภทที่เป็นอันตรายต่อภาวะเศรษฐกิจหรือไม่ ก็พบว่า เศรษฐกิจยังไม่ถึงกับจะต้องกลัว เนื่องจากหากไม่รวมผลของราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมากและรวดเร็ว และผลของ 6 มาตรการ 6 เดือนของภาครัฐ จะพบว่าราคาสินค้าและบริการอื่นๆ ดูจะไม่ได้ปรับลดลงแต่อย่างใด นอกจากนี้ คนยังไม่ได้คาดการณ์ว่าราคาข้าวของในพรุ่งนี้จะถูกกว่าวันนี้ แล้วเลื่อนการซื้อไปก่อนอีกด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะเงินฝืดประเภทที่เป็นอันตรายต่อ เศรษฐกิจไทย

และไม่ใช่แค่เพียงตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของไทยที่มีลักษณะลดลงอย่างรวดเร็วแบบ นี้ ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของต่างประเทศก็มีลักษณะคล้าย ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ จึงเริ่มทำให้มีนักเศรษฐศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศได้ให้คำนิยามการติดลบของ เงินเฟ้อประเภทที่ราคาสินค้าในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งลดลงอย่างมากจนทำให้อัตรา เงินเฟ้อติดลบว่าควรจะเรียกเป็นภาวะ Disinflation เพราะภาวะการติดลบไม่ได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางกับทุกกลุ่มสินค้า โดยคาดหมายกันว่ายังไม่ถึงกับภาวะ Deflation โดยเห็นว่าเศรษฐกิจจะตกอยู่ในภาวะเงินฝืด หรือ Deflation ได้ก็ต่อเมื่อจะต้องเห็นว่าผู้คนเริ่มคาดการณ์ว่าราคาสินค้าและบริการต่าง ๆ จะถูกลงเรื่อยๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย อย่างไรก็ตาม การเกิดภาวะเงินเฟ้อลดลงเรื่อย ๆ (Disinflation) นาน ๆ ไปก็ไม่ดีเช่นกัน เพราะอาจจะมีผลเปลี่ยนการคาดการณ์ของประชาชนและภาคธุรกิจได้ในที่สุด และอาจจะนำไปสู่ภาวะเงินฝืดประเภทที่น่ากลัวได้จริง ๆ และทำให้เศรษฐกิจตกต่ำได้จริง ๆ

เราจะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืดที่ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจได้อย่างไร

เรา สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืดได้โดยอาศัยการกระตุ้นเศรษฐกิจในรูป แบบต่าง ๆ ของผู้ที่เกี่ยวข้องเช่น จากการใช้นโยบายการเงิน เช่น การลดอัตราดอกเบี้ย หรือการใช้นโยบายการคลัง เช่น การลดภาษี การใช้จ่ายของภาครัฐในโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างงานและการลงทุน ซึ่งเท่าที่ทราบ ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังก็ได้ ดำเนินไปในแนวทางที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืดในประเทศไทยอยู่แล้ว

ที่มา วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com)

รายงานข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์ (Commercial Credit Report)

รายงานข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์ (Commercial Credit Report) เป็นรายงานซึ่งแสดงข้อมูลภาพรวมด้านสินเชื่อทุกประเภทของนิติบุคคล และบุคคลธรรมดาที่ขอสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์ ที่มีต่อสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัท ข้อมูลเครดิตเครดิตแห่งชาติ เช่น ธนาคาร บริษัทเงินทุน และสถาบันการเงินอื่น

รายงานข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์ (Commercial Credit Report) จะประกอบด้วยข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้ขอสินเชื่อ และคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ เช่น ชื่อ สถานที่ตั้ง เลขที่ทะเบียนการจัดตั้งนิติบุคคล หรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และรายละเอียดประวัติการขอ การได้รับอนุมัติสินเชื่อ และการชำระสินเชื่อประเภทต่างๆ ของนิติบุคคลนั้นทุกประเภท


ระบบรายงานข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์ของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ประมวลผลโดยใช้ซอฟแวร์มาตรฐานโลกจาก บริษัท Dun & Bradstreet ซึ่งเป็นผู้ให้บริการข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์ชั้นนำที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ของโลก

รายงานข้อมูลเครดิตบุคคลธรรมดา (Consumer Credit Report)

รายงานข้อมูลเครดิตบุคคลธรรมดา (Consumer Credit Report) เป็นรายงานซึ่งแสดงข้อมูลภาพรวมด้านสินเชื่อทุกประเภทของบุคคลธรรมดา ที่มีต่อสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ เช่น ธนาคาร บริษัทเงินทุน และสถาบันการเงินอื่น

รายงานข้อมูลเครดิตบุคคลธรรมดา (Consumer Credit Report) จะประกอบด้วยข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้ขอสินเชื่อ และคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด เลขที่บัตรประชาชน เป็นต้น และรายละเอียดประวัติการขอ การได้รับอนุมัติสินเชื่อ และการชำระสินเชื่อประเภทต่างๆ ของบุคคลนั้นทุกประเภท ได้แก่ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อรถยนต์ เป็นต้น


ระบบรายงานข้อมูลเครดิตบุคคลธรรมดาของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ประมวลผลโดยใช้ซอฟแวร์มาตรฐานสากลจาก บริษัท TransUnion ซึ่งเป็นเครดิตบูโรชั้นนำผู้ให้บริการระบบข้อมูลเครดิตบุคคลธรรมดาที่ใหญ่ ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

เครดิตบูโรคืออะไร(Credit Bureau)?

เรามาทำความรู้จักกับธุรกิจข้อมูลเครดิต หรือ Credit Bureau กัน Credit Bureau นั้นมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลประวัติการชำระสินเชื่อ และการชำระบัตรเครดิตของบุคคลจากสถาบันการเงินหลายๆ แห่ง เช่น ธนาคารพาณิชย์ หรือผู้ให้บริการสินเชื่อบุคคลและสินเชื่อบัตรเครดิต โดยเมื่อลูกค้าให้ความยินยอมให้สถาบันการเงินตรวจสอบข้อมูลการชำระสินเชื่อ และการชำระบัตรเครดิตของตนในขณะที่ยื่นขอสินเชื่อแล้วนั้น สถาบันการเงินก็สามารถจะเรียกดูข้อมูลดังกล่าวจาก Credit Bureau เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้

เดิมบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด คือบริษัท ระบบข้อมูลกลาง จำกัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยฝ่ายของธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย จัดตั้งขึ้นในปี 2542 ทุนจดทะเบียน 26 ล้านบาท ธนาคารพาณิชย์ไทย 13 แห่งที่เป็นสมาชิกและสมาคมธนาคารไทยเป็นผู้ถือหุ้น ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลสินเชื่อจากสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก ได้ให้บริการข้อมูลเครดิตทั้งด้านข้อมูลเครดิตบุคคลธรรมดา และข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้สถาบันการเงินต่างๆ ได้ใช้เพื่อประกอบการวิเคราะห์สินเชื่อ

ปี 2543 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด และ ได้ลงทุนพัฒนาระบบรายงานข้อมูลเครดิต 2 ระบบ ได้แก่ 1) ระบบรายงานข้อมูลเครดิตบุคคลธรรมดา (Consumer Credit Reporting System) พัฒนาโดย บริษัท Trans Union International หนึ่งในผู้นำด้านการให้บริการข้อมูลเครดิตของโลก และ 2) ระบบรายงานข้อมูลเครดิตเชิงพาณิชย์ (Commercial Credit Reporting System) ต่อมาในปี พ.ศ.2548 บริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด ได้ร่วมกิจการกับบริษัทข้อมูลเครดิตอีกแห่งหนึ่ง คือ บริษัทข้อมูลเครดิตไทย จำกัด โดยบริษัท ข้อมูลเครดิตกลาง จำกัด ได้เข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท ข้อมูลเครดิตไทย จำกัด และเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 250 ล้านบาท และได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ในเวลาต่อมา

กลุ่มน่าลงทุน: กลุ่มที่จะได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและดอกเบี้ยขาลง

- เศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกรออยู่ข้างหน้า แต่ในข่าวร้าย ก็ยังมีข่าวดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะออกมาใหม่ และแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของไทยอีกไม่ต่ำกว่า 100bp

- แต่หุ้นไทยยังน่าจะปรับขึ้นได้จำกัด ทำให้การซื้อ-ขายเน้น “การ trade เพื่อทำกำไรเป็นรอบๆ มากขึ้น” แต่ยังจำกัดความเสี่ยงโดยเน้นหุ้นพื้นฐานดี

- มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ: จะเป็นผลดีต่อกลุ่มอุปโภคบริโภคภายในประเทศ (ADVANC, DTAC, CPALL, BIGC, BEC), กลุ่มอสังหาฯ/วัสดุก่อสร้าง (PS, LH, QH, CPN, SCCC), โรงพยาบาลในโครงการสวัสดิการ (KH) และจะมีแรงเก็งกำไรในกลุ่มรับเหมาฯ (ITD, STEC, CK)

- แนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ย: เป็นผลดีต่อกลุ่มอสังหาฯ, กลุ่มที่มีต้นทุนการเงินสูง (TTW, ITD, BECL, ERAWAN), กลุ่มที่ให้ผลตอบแทนจากปันผลสูง (ตัวเลือกสำหรับหุ้น “BUY” ที่มี div>7% มี ADVANC และ SCCC)


- แนวโน้มบาทอ่อนค่า: เป็นผลดีต่อกลุ่มส่งออกอาหาร (CPF, TUF)


- หุ้นเพื่อเก็งกำไรจากผลประกอบการพลิกฟื้นใน 1Q09: TOP และ PTTAR

Sunday 1 March 2009

กฎอย่างง่าย 6 ข้อเพื่อรักษาการลงทุนให้อยู่รอดและงอกเงยต่อไป

ผมขอแนะนำกฎอย่างง่าย 6 ข้อที่อยากให้ท่านผู้อ่านลอง ทำดู เพื่อรักษาการลงทุนของท่านให้อยู่รอดและงอกเงยต่อไป ในระยะยาว :


Invest You Must ท่าน ต้องลงทุน ความเสี่ยงมากที่สุด ของพวกเรา คือการไม่ยอมเสี่ยงมากพอ เงินที่ฝากไว้ในธนาคาร หรือเก็บไว้ใต้เตียงไม่ถือว่าเป็นการลงทุน ท่านต้องทำการจัดสรร เงินก้อนหนึ่งจากเงินออมของท่าน นำไปลงทุนระยะยาวใน ตลาดหุ้นหรือตลาดตราสารหนี้


Time is Your Friend ต้องคิดว่าเวลาคือเพื่อนของ ท่าน ลงทุนเสียแต่เนิ่นๆ และลงทุนบ่อยครั้ง ท่านควรจะเริ่มต้น ลงทุนตั้งแต่อยู่ในช่วงอายุ 20 ปีขึ้นไป แม้จะเป็นเม็ดเงินจำนวน น้อยนิด จงอย่าหยุดลงทุน การลงทุนขนาดปานกลางแม้ใน ช่วงเวลาที่ยากมากๆ สำหรับท่าน จะช่วยให้ท่านคุ้นเคยและมีนิสัยที่ดีในการลงทุน อัตราดอกเบี้ยทบต้นและเทคนิคในเรื่อง Dollar Cost Averaging จะช่วยเพิ่มพูนดอกผลของการลงทุน ของท่านในระยะยาว


Impulse is Your Enemy ความโลภคือศัตรู ท่าน ต้องกำจัดอารมณ์ และความอยากออกจากแผนการลงทุน ต้องมีความคาดหวังอย่างมีเหตุผลต่อผลตอบแทนที่จะได้รับใน อนาคต และพยายามเลี่ยงการเปลี่ยนความคาดหวังที่ตั้งไว้เมื่อ ภาวะแวดล้อมมีการเปลี่ยนไป


Cost Control ควบคุมต้นทุน ต้องควบคุมค่าใช้จ่าย ในการลงทุนให้ได้ ผลตอบแทนสุทธิที่ท่านจะได้รับคำนวณ ง่ายมาก โดยเอาผลตอบแทนขั้นต้นที่ได้จากพอร์ตการลงทุน ของท่านลบออกจากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด เช่น ค่านายหน้า ซื้อขายหุ้น ค่าที่ปรึกษาและค่าบริหารพอร์ต เป็นต้น ตัวเลขที่ ออกมาก็คือผลตอบแทนสุทธิของท่าน


Stick to Simplicity ยึดติดความเรียบง่าย อย่าทำให้ขั้นตอนการ ลงทุนยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไปนัก การลงทุนขั้นพื้นฐานนั้นเป็นเรื่องที่เข้าใจ และทำได้ง่ายมาก : เช่น การกระจายสินทรัพย์ไปสู่หุ้นตราสารหนี้ และสำรองเงินสด; การเลือกซื้อกองทุนรวมที่มีผลงานในอดีต ; การบริหารให้ สามสิ่งนี้มีความสมดุลกันคือความเสี่ยง ผลตอบแทนและต้นทุน


Stay the Course ยึด แผนการลงทุนไว้ให้มั่น ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ก็ตาม ท่านต้องยึดมั่นในแผนการลงทุนระยะยาว กฎข้อนี้ถือเป็นความ ชาญฉลาดที่สุด ลงทุนเพื่ออนาคตระยะยาว


ลองมาดู ตัวอย่างที่สนใจเกี่ยวกับการเริ่มต้นออมเงินของคนสองคน คือ นายสมชายกับนางสมศรีที่ต่างก็คิดจะเริ่มออมเงิน แต่สองคนนี้เริ่มออม ไม่พร้อมกัน กล่าวคือ สมชายตัดสินใจทยอยออมปีละ 1,000 บาท โดยอัตราผลตอบแทนที่ได้รับคือ 10% สมชายเริ่มออมมาตั้งแต่อายุ 18 ปี โดยออมเป็นจำนวนเงินเท่ากันทุกปีเป็นเวลา 13 ปี จนกระทั่งอายุ 30 สมชายก็หยุดที่จะออมเพิ่มเพียงนำเงินทั้งต้นและดอกผลมาลงทุนต่อไป เพื่อไว้ใช้ตอนอายุ 65 ปี ซึ่งในตอนนั้นมูลค่าเงินออมของนายสมชายมีมูลค่า สูงถึง 690,000 บาท แต่หากเรามาดูนางสมศรีที่มาเริ่มเมื่ออายุ 30 ปี และออมเงินอย่างต่อเนื่องทุกปี ๆ ละถึง 2,000 บาท เป็นเวลา 36 ปี จนอายุ 65 ปี โดยให้สมศรีได้รับอัตราผลตอบแทนการลงทุนเท่ากับสมชาย คือ 10% ต่อปี ซึ่งเราจะพบว่าแม้ว่าสมศรีออมเงินในแต่ละปีมากกว่าเป็น 2 เท่าของ สมชาย แต่มูลค่าเงินออมที่สมศรีเก็บไว้ได้นั้นเพียง 598,000 บาท เท่านั้น


ความมหัศจรรย์ของการทบต้น


นายสมชาย

นางสมศรี

ผลต่าง

เริ่มลงทุนตอนอายุ

18 ปี

30 ปี

13 ปี

เงินลงทุนเริ่มต้น

1,000 บาทต่อปี

2,000 บาทต่อปี

100%

ระยะเวลาลงทุน

(18-30 ปี) 13 ปี

(30-65 ปี) 13 ปี

3 เท่า

เงินต้นรวม

13,000 บาท

72,000 บาท

454 %

มูลค่าเงินลงทุนเมื่ออายุ 65 ปี

690,000 บาท

598,000 บาท

92,000 บาท

อัตราผลตอบแทน*

5,207%

731%

4,476%

*ผลตอบแทน 10% ต่อปี


จาก ตัวอย่างข้างต้น ท่านคงพอเข้าใจว่าการเริ่มออมเงินนั้นยิ่งทำได้เร็ว เท่าไรก็จะเป็นประโยชน์ต่อท่านมากเพียงนั้น เพราะท่านจะได้รับประโยชน์ จากการทบต้นของเงินลงทุนที่มีแต่ทวีมากขึ้นตามเวลาที่ท่านได้ลงทุนหรือ ออมเงินเอาไว้ ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องรอให้อายุมากก่อนจึงค่อย ออมเงิน หรือแม้แต่ท่านที่เป็นคุณพ่อคุณแม่ก็ตามการเริ่มออมเงินไว้ให้ บุตรหลานของท่านตั้งแต่เขาเหล่านั้นยังเล็ก ก็อาจจะเป็นความคิดที่ดีทีเดียว ที่จะหาเงินไว้ใช้เป็นทุนการศึกษาเมื่อเขาเหล่านั้นเติบโตขึ้น


อย่าง ไรก็ดี ในปัจจุบันทางเลือกในการออมเงินนั้นมีมากมายหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการฝากเงินไว้กับธนาคารหรือการลงทุนในกองทุนรวมประเภท ต่างๆ เช่น กองทุนรวมหุ้นทุน หรือกองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นต้น ซึ่งการ ลงทุนแต่ละรูปแบบก็จะให้ผลตอบแทนที่สูงต่ำต่างกัน และความเสี่ยงในการลงทุนก็อาจจะต่างกัน ส่วนการฝากเงินกับธนาคารท่านก็จะได้รับผลตอบแทน ที่สูง โดยไม่สนใจความผันผวนของอัตราผลตอบแทนระยะสั้น ก็อาจจะเลือก ลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้น ส่วนนักลงทุนบางท่านก็อาจจะเลือกทาง สายกลาง โดยเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารหนี้ ที่อาจจะสบายใจขึ้นเพราะผลตอบแทนไม่ขึ้นลงหวือหวามากนัก และยินดีกับผล ตอบแทนในระดับกลาง


ดังนั้นเมื่อท่าน จะเริ่มลงทุนท่านควรต้องศึกษาถึงรูปแบบการลงทุน ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของท่าน ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ของตัวท่านเอง

หลักการง่ายๆ มุ่งสู่ความสำเร็จระยะยาว

ก่อนที่ผมจะบอกความลับบางอย่างของผมเกี่ยวกับการลงทุน ให้ประสบความสำเร็จ ผมอยากจะบอกเสียตั้งแต่เริ่มแรกเลยว่าการลงทุน คือ การกระทำ บางสิ่งบางอย่างบนพื้นฐานของความเชื่อมั่น (faith) หรือเป็นการเลื่อนการบริโภคในปัจจุบันเพื่อเอาไว้ใช้ ในอนาคต เพราะอย่างที่เราต่างรู้ๆ กันอยู่ว่าอนาคต เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน


หลักการเช่นเดียวกันนี้สามารถนำมาประยุกต์ ใช้ในเรื่องของ การลงทุนได้ มันไม่มีการพนันอะไรที่จะได้ผลลัพธ์มาอย่างแน่นอน (sure bet) หรือมั่นอกมั่นใจมากๆ หรอก เมื่อเราซื้อหุ้นหรือพันธบัตร เรากำลังแสดงตนว่ามีความเชื่อมั่นในความสำเร็จทาง เศรษฐกิจและตลาดการเงิน เมื่อเราลงทุนในกองทุนรวม เรากำลัง แสดงความมั่นใจว่าผู้จัดการกองทุนมืออาชีพจะคอยดูแลสินทรัพย์ ของเราตามที่เราได้ให้ความเชื่อถือเขา เรายังตระหนักรู้ซึ้งถึงคุณค่า ของหลักการเรื่องการกระจายการลงทุน โดยเรากระจายเม็ดเงิน ไปซื้อทั้งหุ้นและตราสารหนี้ กองทุนรวมที่มีการกระจายพอร์ตการ ลงทุนออกไปจะช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้จากการถือครองหุ้น เพียงตัวเดียว


การที่จะเป็นนักลงทุน ที่ประสบความสำเร็จนั้น เราต้องยินดีรับความเสี่ยงที่คาดคะเนได้ (calculated risk) เกี่ยวกับความ ไม่แน่นอนต่างๆ หากไม่มีความเสี่ยง ก็ย่อมไม่มีผลตอบแทนกลับคืนมา

หลัก การดังกล่าวข้างต้นเป็นเรื่องพูดง่ายกว่าทำ โดยเฉพาะเมื่อพวกเราส่วนมากสูญเสียความเชื่อมั่นทั้งหมดที่มีต่อตลาดหลัก ทรัพย์ไปแล้ว ในช่วงจุดสูงสุดของเศรษฐกิจฟองสบู่เมื่อปี 2540 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์พุ่งขึ้นไปที่ระดับ 1,700 จุด แต่ปัจจุบันอยู่ในระดับเพียง 390 จุดเท่านั้น คุณคงต้องใช้วิธีนั่งเดา เอาเท่านั้นแหละว่าอีกนานเท่าใดมันจึงจะกลับไปสู่ระดับสูงสุดเดิม ที่เคยทำไว้ได้


นักลงทุนหลายรายที่ ได้ซื้อกองทุนรวมตราสารทุนเอาไว้ ด้วย ความรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ก็ได้สูญเสียเงินลงทุนเริ่มต้นไปมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ คงต้องยอมรับกันตามตรงว่าความสูญเสียในครั้งนั้นได้ ทำให้ความเชื่อมั่นในตัวเองของนักลงทุนมลายหายไปโดยสิ้นเชิง

ความมั่นอกมั่นใจต่อตลาดการเงินและกระเป๋าเงินของเรา!


แต่ ในช่วงเวลาปัจจุบัน เมื่อเรายึดมั่นอยู่กับแผนระยะยาวและการลงทุนเพื่อหวังผลระยะยาว วิธีนี้ต่างหากที่เป็นหัวใจนำไปสู่ ความสำเร็จของนักลงทุนในการที่จะได้ผลตอบแทนสูงสุดกลับ คืนมา


แม้ ว่านักลงทุนส่วนมากยังไม่ค่อยมีแนวคิดเรื่องการลงทุนระยะยาว แต่ท่านจะประหลาดใจที่พบว่าแนวคิดนี้ทำได้ง่ายมาก ผมขอเปรียบเทียบว่าการลงทุนก็เหมือนการปลูกต้นไม้ ขั้นตอน อาจต้องใช้เวลาหลายปีเพื่อรอให้มันเจริญเติบโต แตกหน่อผลิใบ และออกดอกออกผลให้เราเก็บกินลิ้มรสได้ นอกจากนี้การที่ ต้นไม้จะเติบโตงอกงามก็ยังขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย แม้จะเป็นในประเทศเขตร้อนอย่างเมืองไทยก็ตามเถอะ


ประเทศ ไทยมีสามฤดู คือ ร้อน, ฝน และหนาว ตราบเท่าที่ รากโคนของต้นไม้ไม่ถูกทำลาย ต้นไม้ก็ย่อมจะเติบโตและให้ ผลดีในทุกฤดูกาล หากท่านดูแลใส่ใจในต้นไม้ของท่านธรรมชาติ และวัฏจักรของเศรษฐกิจก็ละม้ายคล้ายคลึงกัน ธรรมชาติใน แต่ละฤดูกาลจะมีทั้งช่วงที่ดีและไม่ดี เงินเฟ้อและเงินฝืด สงคราม และสันติภาพ โรคระบาดร้ายแรงและความอดอยากหิวโหย นอกจากฤดูกาลที่มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว เศรษฐกิจไทยก็ อยู่รอดมาได้ และกำลังฟื้นตัวจากภาวะที่เสื่อมทรุดอย่างมาก ในตอนที่เกิดวิกฤติค่าเงินบาท เมื่อปี 2540


ทำไมถึงตั้งชื่อว่า กลยุทธ์หุ้นห่านทองคำ?

คำถามยอดฮิตที่ผมได้รับจากการเปิดตัวหนังสือเล่มล่าสุด คือ “ทำไมถึงตั้งชื่อว่า กลยุทธ์หุ้นห่านทองคำ?”


บางคนถามว่า หุ้นห่านทองคำแตกต่างกับหุ้นปันผลอย่างไร?


ขอบอกว่า ความจริงหุ้นห่านทองคำก็คือ หุ้นปันผลนั่นเอง


แต่ที่เป็นกลยุทธ์หุ้นห่านทองคำเพราะผมเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องมีทางเลือกที่ 3


เพราะในปัจจุบันมีทางเลือกการลงทุนในหุ้นอยู่แล้วสองแบบ คือ แบบค้าหุ้น (Trading) กับแบบมูลค่า (Value)


แบบที่ 1 คือ การค้าหุ้นนั้นมีกันมาตั้งแต่ตอนเริ่มเปิดตลาดหุ้น สมัยนั้น หุ้นมีน้อยตัว นักลงทุนส่วนใหญ่เข้ามา “เล่นหุ้น” แบบเก็งกำไร เข้าถูกตัว ถูกจังหวะ ก็สามารถรวยได้แบบง่ายๆ ไม่ต้องใช้ความรู้มาก อาศัยแหล่งข่าวว่าหุ้นตัวไหนจะวิ่ง เข้าไปร่วมขบวนการซื้อ ไม่ช้าไม่นาน หุ้นที่ซื้อก็วิ่งขึ้นสามารถทำกำไรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ โอ้โฮ ทำอะไรจะง่ายอย่างนั้น ไม่ต้องศึกษาข้อมูลอะไรเลย ฟังคำแนะนำเด็ดๆ จากมาร์เก็ตติ้งก็สามารถขุดทองจากขุมทรัพย์ตลาดหุ้นได้อย่างสบายๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป นักเล่นหุ้นก็ต้องเจอกับความจริงว่า ไม่มีอะไรที่จะขึ้นไปได้ตลอด ไม่มีอะไรที่ฝืนธรรมชาติแล้วจะตั้งอยู่ได้ตลอดไป ความเจ็บปวดที่ได้รับสำหรับบางคนถึงกับทนไม่ไหว หลายๆ คนถึงกับสาปส่งตลาดหุ้นเลยทีเดียว ไม่นับบางคนที่เลือกทางออกอย่างผิดๆ กลายเป็นเรื่องเศร้าของชาวหุ้น ดังนั้นเวลาที่ผมพูดถึงการลงทุนในตลาดหุ้น จึงมักจะเจอกับปฏิกิริยาแปลกๆ จากคนไม่น้อยที่ผมคุยด้วย และผมก็ถูกตราหน้าว่าเป็น “นักเล่นหุ้น” ทั้งๆ ที่ผมแน่ใจอย่างที่สุดว่าเรื่องหุ้นไม่ใช่ของเล่นๆ แต่เป็นเรื่องที่ต้องเอาใจใส่ ต้องมีการทำการบ้านพอสมควร และจะต้องมีกลยุทธ์ที่ดีด้วย จึงจะอยู่รอดปลอดภัยสามารถเป็นไททางการเงินได้ในระยะยาวจากการที่ต้องตกเป็นเหยื่อเคราะห์ร้ายของตลาดหุ้นรุ่นแล้วรุ่นเล่า นักลงทุนรายย่อยจึงถูกตั้งสมญาว่าเป็นแมงเม่า ชอบตามแห่เวลาหุ้นขึ้นก็แย่งกันเข้ามาซื้อโดยหวังว่าราคาหุ้นจะปรับตัวขึ้น ไปอีก ครั้นหุ้นอยู่นิ่งๆ ก็เริ่มกลุ้มใจ ถ้าหุ้นเริ่มลดระดับราคาลงก็ตกใจ พากันแย่งเทขายทิ้งอย่างไม่คิดชีวิต เล่นไปเล่นมา คิดแล้วไม่คุ้มกำไร ถ้าหักกับขาดทุนแล้วจะได้ก็ไม่มาก เพราะซื้อๆ ขายๆ ถี่ยิบเกินไป เลยถูกค่าคอมมิชชั่นกินไปอื้อ


แต่ ก็แปลก แมงเม่าก็ไม่เคยจะหมดไปจากตลาดหุ้นเลย สังเกตได้จากการตั้งคำถามเวลามีการวิเคราะห์หุ้น แทนที่จะถามเกี่ยวกับเรื่องราวของบริษัทจดทะเบียน กลายเป็นส่วนใหญ่จะถามว่าราคาหุ้นตัวนั้นตัวนี้จะเป็นอย่างไร? ถือต่อไปได้ไหม?

ผม ก็เคยผิดพลาดมาแล้วอย่างจังในการใช้กลยุทธ์การค้าหุ้น แม้ในตอนแรกจะได้กำไรมาเยอะ แต่ท้ายสุดก็หมดไปเกือบเกลี้ยง ผมเห็นว่าการลงทุนในตลาดหุ้นโดยหวังผลกำไรเร็วๆ จากการปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นเป็นกลยุทธ์ที่น่ากลัว โดยเฉพาะถ้าเป็นหุ้นที่มีผลประกอบการเลว และแม้จะเป็นหุ้นดีแต่ถ้าซื้อมาในราคายอดดอย ก็ต้องเหนื่อยมาก


แบบที่ 2 คือแบบกลยุทธ์การลงทุนในหุ้นที่มีมูลค่าดี (value investing) ผมชอบกลยุทธ์แบบนี้มากกว่าแบบการค้าหุ้น เพราะนักเล่นหุ้นกลุ่มนี้จัดได้ว่าเป็นนักลงทุน ไม่ใช่แมงเม่าแต่เป็นมดงาน เป็นนักลงทุนที่ยอมทำการบ้านเพื่อคัดหุ้นพื้นฐานดีๆ และจะเข้าซื้อเมื่อราคาหุ้นลงมาอยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้วเท่านั้น ไม่ใช่ว่าเป็นหุ้นดีแล้วราคาไหนก็ซื้อได้ นักลงทุนประเภทนี้จะไม่กลัวการตกรถไฟเพราะมักจะเป็น Early Bird คือเข้าไปก่อนคนอื่นๆ จึงมักได้ของถูกจากการเป็นผู้ขยันทำการบ้าน และเป็นคนช่างสังเกต ชอบสำรวจตลาดอยู่เป็นประจำ ทำให้เห็นกิจกรรมทางธุรกิจได้ล่วงหน้าก่อนที่จะปรากฏออกมาเป็นตัวเลขการขาย หรือ กำไรในงบรายไตรมาสความจริงกลยุทธ์หุ้นห่านทองคำซึ่งผมขอเสนอเป็นทางเลือกที่ 3 นั้นมีอะไรที่คล้ายกับกลยุทธ์การลงทุนเน้นมูลค่ามาก ที่แตกต่างกัน คือ กลยุทธ์ห่านทองคำจะให้ความสำคัญกับหุ้นปันผลมาก เพราะผมต้องการความเป็นไททางการเงินเป็นที่ตั้ง ไม่ได้ต้องการมีความมั่งคั่งมากๆจากการเพิ่มค่าของทรัพย์สิน ในขณะที่ Value Investors เน้นหุ้นคุณภาพดีที่มีราคาสมเหตุสมผล ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นปันผลเสมอไป อาจจะเป็นหุ้น Growth Companies หรือ Turnaround ก็ได้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการเห็นหุ้นในพอร์ตมีมูลค่าที่สูงขึ้นๆ ทุกๆ ปี คือเน้นที่จะเห็น Long Term Capital Appreciation เป็นหลักเนื่องจากกลยุทธ์หุ้นห่านทองคำมีเป้าหมายหลัก คือ การเป็นไททางการเงินอย่างยั่งยืน การจะเป็นไทได้หมายความว่าผมไม่ต้องทำงานใดๆ เพื่อหาเลี้ยงชีพตนเองเลย ก็ยังอยู่ได้ เพราะค่าใช้จ่ายประจำของผมได้รับการดูแลโดยไข่ทองคำ! ณ วันนั้น ผมจะมีรายได้จากเงินปันผลมากพอสำหรับค่าใช้จ่ายประจำ วันแห่งเสรีภาพนั้นจะมาถึงช้าหรือเร็วแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับว่าผมสามารถสะสม หุ้นห่านทองคำดีๆ ไว้มากพอหรือไม่ที่จะทำให้ความผันเป็นจริงด้วย เหตุนี้ เวลามีผู้มาถามผมว่าผลตอบแทนแต่ละปีออกมาเท่าใด ผมจึงต้องทำให้ผู้ถามเข้าใจเสียก่อนว่า การคำนวณผลตอบแทนของผม อาจจะแตกต่างกับผู้ที่ต้องการวัดในเชิงของ Capital Appreciation เพราะผลตอบแทนที่ผมพูดถึงคือ อัตราร้อยละของเงินปันผลทั้งหมดที่ได้รับหารด้วยต้นทุนสุทธิของหุ้นทั้งหมด ที่ถืออยู่ นั่นคือ




Dividend
Yield = -------------------------------


Net Investment Cost


Dividend Yield ในพอร์ตของผมไม่ใช่ Dividend / Price แต่เป็น Dividend / Cost หมายความว่าหากผมมีกำไรจากการขายหุ้น ผมจะไม่แสดงออกมาในรูป Capital Gain แต่ผมจะนำกำไรนั้นไปหักออกจากต้นทุน คือเป็น Cost Reduction


ที่ ทำเช่นนั้น ผมมีเหตุผลสองอย่างคือ หนึ่ง Cost คือ เงินจริงๆที่ผมลงไปในหุ้น กำไรนั้นผมถือเสมือนหนึ่งว่าผมได้รับเงินส่วนหนึ่งคืนมาจากตลาด เช่นถ้าผมซื้อหุ้นมา 10,000 หุ้นในราคาหุ้นละ 20 บาท หากต่อมาราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปเป็น 30 บาทและผมขายหุ้นออกไป 4,000 หุ้น หุ้นที่เหลือ 6,000 หุ้นจะมีต้นทุนลดเหลือหุ้นละเพียง 13.33 บาทเท่านั้น! กำไรที่ผมได้จากการขายหุ้น 4,000 หุ้น ผมถือว่าได้คืนมาจากตลาด สามารถนำมาลดต้นทุนหุ้นที่ยังถืออยู่


และ สอง ผมต้องการลดความเสี่ยงเพราะรู้สึกปลอดภัยถ้าอยู่ที่ต้นทุนต่ำๆ การที่หุ้นที่ถืออยู่ 6,000 หุ้นมีต้นทุนสุทธิเพียงหุ้นละ 13.33 บาท ในขณะที่ราคาตลาดอยู่ที่ 30 บาท ทำให้ผมไม่ต้องตกใจมากกับคุณหมีที่จะมาเยือน


แม้ ในวันสิ้นปีที่จะต้องปิดบัญชี หากราคาปิดของหุ้นยังยืนอยู่ที่ 30 บาท ผมก็จะมี Book Profit ถึง 100,000 บาท! แต่ Book Profit ก็คือ Book Profit อาจจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ได้ ผมจึงไม่ได้ให้ความสำคัญมากนักสิ่งที่ผมสนใจคือ การเพิ่มประสิทธิภาพของ Dividend Yield ให้สูงขึ้น ถ้า DPS = 2 บาท ผมก็จะมี Dividend Yield เพิ่มจาก 10% เป็น 15% จาก 6,000 หุ้นที่ยังถืออยู่และที่สำคัญคือผมจะได้เงินถึง 120,000 บาทจากการขายหุ้นออกไป 4,000 หุ้น เงินจำนวนนี้จะช่วยให้ผมมีโอกาสไปลงในหุ้นตัวอื่นๆที่ยังมีผลตอบแทนดี


ดัง นั้น จึงอาจมีผู้เข้าใจว่าผมได้ผลตอบแทนจากการลงทุนในปี 2545 เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ตลาดโดยรวมมีอัตราสูงถึง 17 เปอร์เซ็นต์ ความจริงก็คือ ผมคิดในแง่ของ Dividend Yield อย่างเดียวเป็นหลัก ไม่ได้คิดถึง Capital Gain เลย ส่วนการคำนวณผลตอบแทนจากตลาดนั้นผมเข้าใจว่าวัดจาก Capital Appreciation จากวันต้นปีกับวันสิ้นปีทั้งนี้โดยรวมถึง Dividend ไว้ด้วยแล้ว


ผม คิดว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพูดถึงความแตกต่างในแนวคิดของกลยุทธ์ทั้งสาม ให้ชัดเจน เพราะจะทำให้การอธิบายและการชี้แจงทำได้ง่ายขึ้น


การ เลือกเดินตามกลยุทธ์หุ้นห่านทองคำทำให้ผมรู้สึกปลอดภัยและมี Peace of Mind ไม่ต้องใจเต้นไปกับกระแส แต่ ณ วันที่ผมเริ่มเป็นไทได้อย่างสมบูรณ์ ผมอาจจะแบ่งเงินใน Port ส่วนหนึ่งไปลงในหุ้นแบบ Value Investing บ้าง


ส่วนจะแบ่งไปลงทาง Trading ด้วยหรือไม่นั้น เวลาเท่านั้นครับที่จะบอกได้

เทคนิคการบริหารความเสี่ยง (ส่วนบุคคล)

เอาละ เมื่อผ่านสองขั้นตอนเบื้องต้น คือทั้งวิเคราะห์และประเมิน เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงเทคนิคในการบริหารความเสี่ยงกันเลยนะครับ เริ่มต้นด้วย


การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance)

คือ หลักพื้นฐานของการบริหารความเสี่ยงครับ อาจจะฟังดูกำปั้นทุบดินไปหน่อย แต่ก็ยากที่จะปฏิเสธใช่ไหม ละครับว่า การลดความเสี่ยงที่ดีที่สุด ก็คือการหลีกเลี่ยงสาเหตุของความเสี่ยง อย่างเช่น ลดโอกาสเสี่ยงในอุบัติเหตุรถชนด้วยการไม่ขับรถ (เสียเลย) หากตัวอย่างนี้ไม่เป็นที่พอใจ ผมยกตัวอย่างที่ปฏิบัติได้จริงก็ได้นะครับ นั่นคือ ลดโอกาสป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดด้วยการเลิกสูบบุหรี่


การลดหรือควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction or Damage Control)

วิธี นี้เน้นไปที่การลดโอกาส-ความถี่-ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนและใกล้ตัวที่สุด คือ ดื่ม (เหล้า) ไม่ขับ โทรไม่ขับ หรือจะละเอียดขึ้นไปอีกขั้น ก็อย่างเช่น เก็บสารไวไฟเอาไว้นอกบ้าน เพื่อลดโอกาสและความเสียหายจากเหตุไฟไหม้บ้านได้


การประคับประคองความเสี่ยง (Risk Retention)

พูด ตรงๆ ก็คือทำใจยอมรับความเสี่ยงที่เกิดจากสงคราม, การก่อการร้ายหรือการจราจล เพราะแม้แต่บริษัท ประกันเองยังไม่รับประกันความเสี่ยงประเภทนี้เลยนะครับ


การโอนถ่ายความเสี่ยง (Risk Transfer)

โดย ผลักภาระความเสี่ยงไปให้กับผู้อื่น และนี่ก็เป็นหลักอีกอย่างในการทำประกันภัยนั่นเอง เพราะผู้ซื้อประกันจะถ่ายโอนความเสี่ยงไปให้บุคคลที่สาม ซึ่งในที่นี้ก็คือ บริษัทรับประกันภัยผู้ซื้อประกัน(ยอม) จ่ายค่าเบี้ยประกัน ส่วนบริษัทรับประกันภัยเองก็อาจโอนภาระการรับประกันความเสี่ยงของลูกค้า (ผู้ซื้อประกัน) ไปให้บริษัทอื่น (อีกต่อหนึ่ง) ได้บ้างเป็นบางส่วน


ควรหรือไม่ควรซื้อประกัน

อาจ มีคุณบางคนคิดไม่ตกว่าความเสี่ยงระดับไหนและ (หรือ) ความ เสี่ยงแบบใดที่ควรเสียเงินซื้อประกัน ในกรณีนี้ คงต้องหาอัตราส่วนมูลค่า ความเสี่ยงซึ่งผมมีสูตรการคำนวณมาฝากครับ


อัตราส่วนมูลค่าความเสี่ยง = มูลค่ารวมของสิ่งที่เสี่ยง / มูลค่าทรัพย์สินรวมทั้งหมด


ตัวอย่าง เช่น คุณมีบ้านมูลค่า 6 ล้านบาท มีทรัพย์สินรวมทั้งหมด 9 ล้านบาท อัตรามูลค่าความเสี่ยงของบ้านคือ 6:9 หรือเท่ากับ 2 ใน 3จัดว่ามากอยู่


หาก เสียบ้านไปไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตามย่อมกระทบกับฐานะการเงิน ของคุณแน่นอน เพราะฉะนั้นกรณีนี้ทำประกันบ้านของคุณเถอะครับ นอกจากนี้การตัดสินใจว่าคุณควรทำประกันทรัพย์สินชิ้นใดสามารถ คำนวณได้ด้วยการหาอัตราส่วนมูลค่า ความเสี่ยงอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า “หลักการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่” (Large-loss Principle) ที่ควรคิดถึงในการทำ ประกันทรัพย์ประเภทนี้ คือ มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นหาใช่โอกาสปัจจัยและความถี่ที่เป็นสาเหตุของความเสี่ยง


ส่วนลด (Deductible) : ใครได้ประโยชน์?


คุณอาจสงสัยว่าทำไม ประกันบาง ประเภทจึงมีเงื่อนไขให้เราผู้ซื้อประกัน (ต้อง) จ่ายค่าเสียหายในส่วนแรกเอง


คำ ตอบก็คือ นี่เป็นการประสาน ประโยชน์ของสองฝ่ายสำหรับบริษัท ประกัน ข้อกำหนดนี้ถือเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ เพียงเล็กน้อย ส่วนเราผู้ซื้อก็จะได้ส่วนลดค่าเบี้ยประกัน โดยได้รับประโยชน์เท่าเดิม


ด้วยเหตุนี้เองที่ในการ ทำประกันภัยรถยนต์ ผู้ซื้อบางรายจึงเลือกซื้อประกันที่จ่ายค่าเสียหายส่วนแรก 5,000 บาท แทนที่จะเป็น 2,000 บาท แลกกับมูลค่าประกันที่เพิ่มขึ้นจาก 200,000 บาทต่อครั้งเป็น 400,000 บาท โดย เสียค่าเบี้ยประกันเท่าเดิม

พื้น ฐานในเรื่องการประกันภัยที่คุยให้ฟังกันในครั้งนี้คงจะช่วยให้เข้าใจ ได้นะครับว่าจริงๆ แล้ว การประกันเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งที่คุณควรศึกษา กันอย่างถี่ถ้วน เพราะมีผลกระทบโดยตรงกับการบริหารการเงินส่วนตัว ของคุณได้นะครับ


เฉลี่ยภาระความเสี่ยง


อัคคีภัย อุบัติเหตุ โจรกรรม พิการ เสียชีวิต เรื่องร้ายๆ เหล่านี้ไม่มี ใครอยากให้เกิดกับตัวเองหรอกครับ แต่เราต่างก็รู้ดีว่ามีโอกาสมาก เหลือเกินที่เหตุร้ายเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับเรา (หรือคนที่เรารัก)


และ โอกาสที่จะมีวันร้ายคืนร้ายที่เหตุร้ายมาเยือนชีวิตทุกคนได้ทุกเมื่อ นี่เองที่นำมาสู่หลักการพื้นฐานของการประกัน อีกข้อหนึ่งนั่นคือการเฉลี่ย ภาระความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยลดภาระทางการเงินให้กับความเสียหายที่ เกิดขึ้นจากภัยต่างๆ โดยจะเฉลี่ยความเสี่ยงกันอยู่ในกลุ่มผู้ซื้อประกันตัวอย่างเช่น คนอายุ 35 ปี 1,000 คน ประกันชีวิตในวงเงิน 400,000 บาท ทุกคนตกลงจ่ายเงินคนละ 800 บาท เป็นเงินทุนเพื่อจ่ายให้กับญาติ ผู้ที่อาจเสียชีวิตในปีนี้ สมมติว่าอัตราการเสียชีวิตของคนอายุ 35 อยู่ที่ 2 จาก 1,000 คนก็เท่ากับว่าโอกาสที่กองทุนจะต้องจ่ายเงินเท่ากับ 800,000 บาทพอดี


การ ซื้อประกันด้วยเงินเพียง 800 บาท แทนที่จะเสีย (ทีเดียว) 400,000 บาท เมื่อเกิดเหตุซึ่งเท่ากับว่าลดภาระการเงินของเราเอง คุณ อาจแย้งว่าถ้าไม่มีเหตุร้ายก็ (ขาดทุน) เสียเงิน 800 บาท ไปเปล่าๆ แต่ถ้า เกิดเป็นไปในทางตรงข้ามล่ะ? ไม่เคยมีใครรู้มติของสวรรค์นะครับ ดังนั้น ในกรณีนี้เราควรมองในแง่บวกว่า การซื้อประกันถือเป็นการซื้อเกราะป้องกัน (ภัย) ความเสี่ยงให้ตัวเองยังไงละครับ

การบริหารความเสี่ยงส่วนบุคคล (Personal Risk Management)

การบริหารความเสี่ยงส่วนบุคคล (Personal Risk Management)


อย่า เพิ่งตกอกตกใจกับศัพท์หรูๆ อย่าเพิ่งหยิบยาแก้ปวดหัว การ บริหารความเสี่ยง (Risk Management) ที่เป็นพื้นฐานของการประกันภัยไม่ใช่เรื่องเข้าใจยากเลย พูดแบบย่อๆ ก็หมายถึงการหาวิธีป้องกัน ความเสี่ยง ที่จะนำความเสียหายมาสู่ชีวิตและทรัพย์สินของเราอย่างมีประสิทธิภาพ


คำ ขยายว่า “ของเรา” นี่แหละที่กลายมาเป็นศัพท์ทางเทคนิคว่าการ บริหารความเสี่ยงส่วนบุคคล หรือ Personal Risk Management ที่เรานึกกันไม่ค่อยออกว่าจะบริหารความเสี่ยงส่วนบุคคลที่ว่านี้ได้อย่างไร


หลักการง่ายๆ คือต้องเข้าใจว่าในชีวิตนี้ (ของเรา) จะต้องพบต้องเจอ ความเสี่ยงแบบใดบ้าง ระดับความรุนแรงมากน้อยเพียงไรและมีวิธีใดบ้าง ที่จะรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งขั้นตอนนี้มีศัพท์เฉพาะว่า “การวิเคราะห์ความเสี่ยง” (Risk Analysis) วิเคราะห์ได้ แล้วก็มาถึงขั้นที่สองคือ “การประเมินความเสี่ยง” (Risk Evaluation) โดยเราต้องประเมินทั้งสาเหตุ ที่ (อาจ) ทำให้เกิดเหตุ (ร้าย) และความสามารถรับมือกับเหตุ (ร้าย) ที่อาจเกิดขึ้นของเรา

การเก็บรักษาความมั่งคั่ง

เมื่อความมั่งคั่งและรายได้ของท่านเพิ่มมากขึ้น ท่านอาจหันมาให้ความสนใจกับการแสวงหาความสมดุลเพื่อทำให้ทรัพย์สินเติบโตและ การเก็บรักษาทรัพย์สินที่ได้สั่งสมมา เมื่อมาถึงช่วงเวลานี้ของชีวิต ภาระทางการเงินของคนส่วนใหญ่มักมีแนวโน้มลดลงและมีชีวิตที่มั่นคงพอสมควร เพราะไม่ต้องมีภาระเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยอีกต่อไป บุตรก็กำลังสำเร็จการศึกษาและย้ายออกไปอยู่เอง ส่วนตัวท่านเองอาจหันมาคิดอย่างจริงจังกับการเกษียณอย่างสุขสบาย

ถ้ามีคนมาบอกว่า
“การทำประกันเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง”
คงมีหลายคนขมวดคิ้ว
เพราะไม่เคยมองภาพของประกันในแง่นั้น
ส่วนมากแล้วเรามักจะทำประกันเพื่อซื้อรำคาญ
เพื่อตอบแทนบุญคุณ ช่วยเพื่อน
หรือถูกบังคับตามกฎหมาย (ประกันรถยนต์)
แต่จริงๆ แล้ว การทำประกันถือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม
เพราะอาจช่วยให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้
ถ้าถึงตอนนี้คิ้วคุณยังขมวดอยู่
เราลองมาทำความเข้าใจหลักการและพื้นฐานในการทำประกัน
ก่อนดีกว่านะครับ

คุณสมบัติ 8 ประการสู่ความสำเร็จ

ในการที่จะเล่นกีฬาให้ชำนาญจนมีความสามารถเป็นที่ยอมรับกัน และจนถึงขนาดชนะได้รางวัลนั้น นอกจากผู้เล่นจะต้องมีทักษะพื้นฐานที่ดีแล้ว ยังต้องฝึกฝนตัวเองอยู่อย่างสม่ำเสมออีกด้วย จะเห็นว่าผู้ประสบความสำเร็จและเป็นผู้ชนะมักจะมีสไตล์ในการเล่นที่แตกต่าง กัน ไม่มีสไตล์ไหนที่ชนะตลอดหรือแพ้ตลอด


ในการลงทุนก็เช่นเดียวกัน เราจะต้องพยายามหาสไตล์การเล่นที่เหมาะกับตัวเราและมีความเชื่อมั่นว่าจะทำ ให้เราชนะในเกมการลงทุน และค่อยๆ พัฒนาจนมีสไตล์ของตนเอง ที่ไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร ใครจะรู้ สไตล์การลงทุนของตัวคุณเองอาจจะประสบความสำเร็จอย่างสูงในอนาคตก็ได้ นักลงทุนระดับ “ปรมาจารย์” ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง มีคุณสมบัติที่เหมือนๆ กันอยู่ 8 ประการด้วยกัน คือ

คุณสมบัติ #1 : มีความรอบรู้ (Breadth)
จากการศึกษาพบว่าผู้ประสบความสำเร็จในการลงทุนมักมีความกระตือรือร้น สนใจเรื่องราวต่างๆ รอบตัว นอกจากข้อมูลซึ่งเกี่ยวข้องกับการลงทุนโดยตรงแล้ว พวกเขายังให้ความสนใจกับสิ่งอื่นๆด้วย เช่น George Soros มีความสนใจเรื่องปรัชญาและได้เข้าไปทำกิจกรรมหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการ เมืองระดับโลกด้วย นักลงทุนที่ดีต้องเป็นผู้ที่มีความสนใจที่หลากหลาย ไม่ตีกรอบตัวเองอยู่เฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น โดยเฉพาะในโลกทุกวันนี้ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันสูงมาก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในซีกโลกหนึ่ง อาจส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ อย่างกว้างขวาง แม้แต่ประเทศที่อยู่ในอีกซีกโลกหนึ่ง ก็อาจได้รับผลกระทบอย่างมากและรวดเร็วอย่างคาดไม่ถึง เช่น กรณีวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” ที่เกิดกับประเทศไทยปี 2540 นั้นได้ส่งผลสะเทือนต่อระบบการเงินไปทั่วโลก เป็นต้น

คุณสมบัติ #2 : ช่างสังเกต (Observation)
นักลงทุนที่ดีควรจะสวมวิญญาณนักสืบ เป็นคนที่ช่างสังเกต ใส่ใจในรายละเอียด รวมทั้งต้องจดจำข้อมูลที่สำคัญๆ ของหุ้นต่างๆ ได้ ยิ่งคุณจำรายละเอียดได้มากเท่าใด คุณจะยิ่งมีความสามารถในการวิเคราะห์ แยกแยะ รวมทั้งประเมินผลกระทบภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าคนอื่น กล่าวกันว่า Warren Buffet นั้น เป็นคนช่างสังเกตและสามารถในการจดจำรายละเอียดของข้อมูลต่างๆ ของบริษัทที่เขาไปลงทุนได้มากมายอย่างน่าทึ่ง ราวกับว่าตัวเขาเป็นเหมือน “สารานุกรมเคลื่อนที่” ทีเดียว

คุณสมบัติ #3 : ไม่มีอคติ (Objectivity)
นักจิตวิทยาได้ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์นั้นเป็น “สัตว์สังคม” เมื่อได้มารวมกลุ่มกันเข้าแล้ว เพื่อจะไม่ให้เกิดปัญหาทางสังคมกับผู้อื่น จึงมีความโน้มเอียงที่จะตัดสินใจทำเรื่องต่างๆ ในลักษณะที่คล้อยตามกระแสที่คนส่วนใหญ่นิยมทำกัน ทำให้เกิดเป็นพฤติกรรม “สัญชาติญาณฝูงสัตว์” (herd instinct) เหมือนกับสัตว์ต่างๆ ที่มักจะคล้อยตามจ่าฝูง นักลงทุนที่จะประสบความสำเร็จจะต้องมีความคิดที่เป็นอิสระ และไม่ยอมให้ความคิดของตัวเองถูกครอบงำโดยกระแสของคนส่วนใหญ่ เพราะว่าความผิดพลาดเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนกลายเป็นพฤติกรรมที่สามารถคาดคะเนได้ล่วงหน้า

คุณสมบัติ #4 : รักษาวินัย (Discipline)
นักลงทุนจะต้องมีความอดทนในการรอคอย เพราะโอกาสดีๆ หรือความคิดดีๆ สำหรับการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงๆ นั้นไม่ได้เกิดขึ้นทุกวัน เช่น Warren Buffet นั้น ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีวินัยในการลงทุนสูงมาก เขาเคยบอกว่าเคล็ดไม่ลับของความสำเร็จในการลงทุนของเขาก็คือต้องรู้จักอดทน อดกลั้น รอคอยโอกาส ไม่ตัดสินใจตามกระแส และเมื่อโอกาสนั้นมาถึงต้อง “หวดให้สุดแรง” (ภาษานักเบสบอล ซึ่งเป็นกีฬาที่คนอเมริกันชอบมาก) เพราะโอกาสดีๆ ที่จะผ่านเข้ามาในชีวิตของคนเรานั้น มีไม่บ่อยครั้งนัก

คุณสมบัติ #5 : มีความลึก (Depth)
โดยปกติ “ความลึก” จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนเรามีสมาธิ ซึ่งจะทำให้เราสามารถเพ่งความคิดให้แน่วแน่อยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง (focus) และสามารถคิดได้อย่างมีอิสระ Soros จะไม่ยอมให้มีใครรบกวนเลย เวลาที่เขาทำการซื้อขายอยู่ แม้ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูงเพราะมีข่าวใหญ่บางอย่างเข้ามากระทบ เขาก็ยังไม่ยอมให้ใครคนไหนเข้าพบเพื่อมาสรุปข้อมูลและวิเคราะห์ผลกระทบให้ ฟัง จนกว่าเขาจะได้ “จัดการ” กับการลงทุนของเขาให้เรียบร้อยเสียก่อน

คุณสมบัติ #6 : มีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
ในการลงทุน นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องเห็นภาพรวมของสิ่งต่างๆ เช่น สภาวะเศรษฐกิจส่วนรวมของไทย เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะเศรษฐกิจของประเทศมหาอำนาจต่างๆ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่สำคัญต่างๆ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมันด้วย มิฉะนั้นเขาจะไม่สามารถคว้าโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ หรือไม่สามารถจัดการกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อลดทอนความเสียหายได้

คุณสมบัติ #7 : มีฉันทะในสิ่งที่ทำ (Passion)
นักลงทุนระดับปรมาจารย์ทุกคน “รัก” อาชีพการลงทุน พวกเขามีความสุขกับการได้ทำในสิ่งที่ทำมากกว่าจะคิดเรื่องของผลตอบแทนที่ได้ Warren Buffet เคยพูดว่าตัวเขาเอง...Enjoy the process rather than the proceeds… รู้สึกสนุกกับการทำให้ “ได้ผล” มากกว่าจะคำนึงถึง “ผลได้”

คุณสมบัติ #8 : มีความยืดหยุ่น (Flexibility)
ผู้ที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุนนั้น ต้องเปิดใจพร้อมที่จะยอมรับข้อมูลใหม่ๆ และโลกทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขารู้ดีว่าการที่ยึดติดกับความคิด/ความเชื่อบางอย่างตายตัวเกินไปอาจ เป็นการโยนทิ้งโอกาสดีๆ ที่ผ่านเข้ามา (“ตกเครื่องบิน”) หรือทำให้เกิดผลเสียหายร้ายแรงต่อการลงทุน (“เครื่อง บินตก”) ก็ได้ ประเด็นก็คือ นักลงทุนที่ประสบกับความสำเร็จจะต้องกล้าที่จะยอมรับความจริง ถ้าหากพบว่ามีการตัดสินใจผิดพลาด ก็ต้องยอม “ตัดขาดทุน” (cut losses) เสียแต่เนิ่นๆ แต่เมื่อตัดสินใจถูกต้องแล้ว ก็ต้องรู้จักปล่อยให้ “กำไรเพิ่มพูน” (run profits) ด้วยการไม่รีบขายหุ้นนั้นทิ้งไปด้วย

ทั้งหมดนี่คือคุณสมบัติที่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จมีอยู่คล้ายกัน หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่สนใจในการลงทุนเพื่ออิสรภาพทางการเงินในอนาคต สามารถนำคุณสมบัติเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้กับการลงทุนของตนเอง และหากสนใจที่จะเรียนรู้กลยุทธ์การลงทุน และการบริหารเงินส่วนบุคคล ไม่ควรพลาดหนังสือชุด อยากรวย ต้องรู้ เคล็ด (ไม่) ลับ สู่....อิสรภาพทางการเงิน ทั้ง 4 เล่ม จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

การเปิดบัญชีการซื้อขาย

เมื่อนักลงทุนตัดสินใจที่จะซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ นักลงทุนควรติดต่อผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับ อนุญาตให้ทำหน้าที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ เพื่อดำเนินการเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งโบรกเกอร์แต่ละแห่งอาจจะมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเปิดบัญชีให้กับลูกค้า แตกต่างกันไปในรายละเอียดบ้าง แต่ในหลักการใหญ่ๆ แล้วจะมีมาตรฐานเดียวกัน คือจะพิจารณาฐานะการเงินและความน่าเชื่อถือของผู้ขอสมัครเป็นลูกค้า โดยจะดูจากหลักฐานต่างๆ ที่แสดงถึงทรัพย์สิน กระแสรายได้ ตำแหน่งหน้าที่การงานของลูกค้า ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการอนุมัติวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์


นอกจากนั้นแล้วโบรกเกอร์จะต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เพื่อให้รู้จักลูกค้าอย่างเพียงพอในเรื่องต่างๆได้แก่ เป้าหมายการลงทุน ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ และระดับการยอมรับความเสี่ยง รวมถึงข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ภาระหนี้สิน ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าทั้งหมดจะเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับโบรกเกอร์ในการให้คำ แนะนำแก่ลูกค้าได้อย่างเหมาะสม

การเปิดบัญชีการซื้อขายหลักทรัพย์ในส่วนแรกเป็นการเปิดบัญชีการซื้อขายตราสารทุนซึ่งจะครอบคลุมสามารถซื้อขาย หุ้นสามัญ, วอร์แรนท์, กองทุนรวมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และกองทุนETF


ประเภทบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์
เมื่อนักลงทุนตัดสินใจได้แล้วว่าต้องการส่งคำสั่งซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่การ ตลาดหรือส่งคำสั่งซื้อขายทางอินเตอร์เน็ต ขั้นตอนต่อมาคือการเลือกว่าจะเปิดบัญชีประเภทใดซึ่งบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ


บัญชีเงินสด (Cash Account) เป็น บัญชีสำหรับนักลงทุนที่ต้องการซื้อหลักทรัพย์โดยชำระค่าหลักทรัพย์เต็มจำนวน ด้วยเงินสด โดยโบรกเกอร์จะพิจารณาอนุมัติวงเงินที่เหมาะสมกับฐานะการเงินและความสามารถ ในการชำระหนี้ ทั้งนี้การซื้อหลักทรัพย์จะต้องชำระค่าซื้อภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ซื้อหลักทรัพย์ ส่วนในกรณีที่ขายหลักทรัพย์นักลงทุนจะได้รับชำระค่าขายหลักทรัพย์จาก โบรกเกอร์การขายหลักทรัพย์ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ขายหลักทรัพย์


บัญชีเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ประเภทเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance) หรือบัญชีมาร์จิ้น (Margin Account) เครดิต บาลานซ์เป็นการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ที่พิจารณาสถานะของ ลูกค้าในลักษณะเป็นแบบพอร์ตโฟลิโอโดยไม่คำนึงถึงต้นทุนของแต่ละหลักทรัพย์ โดยกำหนดให้ลูกค้านำเงินสดหรือหลักทรัพย์อื่น ๆ ที่โบรกเกอร์กำหนด มาวางเป็นประกันการชำระหนี้โดยมีมูลค่าอย่างน้อยเท่ากับ อัตราหลักประกันขั้นต้น(Initial Margin) เช่น ลูกค้าวางเงินสดจำนวน 5 แสนบาท สมมติว่าปัจจุบันอัตราหลักประกันขั้นต้นเท่ากับ 50% ดังนั้นลูกค้าจะมีวงเงินซื้อหรือขายชอร์ต (อำนาจซื้อหรือขายชอร์ต) เท่ากับ 1 ล้านบาท และโบรกเกอร์จะทำการปรับมูลค่าหลักทรัพย์ด้วยราคาปิด (Mark to Market) ทุกสิ้นวันทำการ จะมีผลทำให้อำนาจซื้อหรือขายชอร์ตของลูกค้าผันแปรตามมูลค่าตลาดของหลัก ทรัพย์ที่วางไว้เป็นหลักประกันด้วย การลงทุนด้วยบัญชีมาร์จิ้นนี้ นักลงทุนควรศึกษากฎเกณฑ์ของแต่ละโบรกเกอร์อย่างละเอียดถี่ถ้วนทั้งในเรื่อง ของประเภทและมูลค่าของหลักประกัน และอัตรามาร์จิ้น อนึ่ง นักลงทุนสามารถเลือกเปิดได้เพียงประเภทเดียวเท่านั้น นอกจากนี้นักลงทุนไม่สามารถเปิดบัญชีโดยใช้ชื่อร่วมกับบุคคลอื่นได้




ขั้นตอนการซื้อขายหลักทรัพย์

ขั้นตอนการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เริ่มจาก เมื่อนักลงทุนต้องการซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ นักลงทุนจะต้องส่งคำสั่งซื้อ หรือขาย ผ่านบริษัทสมาชิก (หรือโบรกเกอร์) ที่นักลงทุนผู้นั้นเป็นลูกค้า(เปิดบัญชี)อยู่ จากนั้นโบรกเกอร์จะนำคำสั่งซื้อหรือขายนั้นส่งเข้ามายังระบบการซื้อขายของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเมื่อคำสั่งต่างๆ เข้าสู่ระบบการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบบจะจัดเรียงลำดับ และจับคู่การซื้อขายตามหลักเกณฑ์ ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดไว้ เมื่อมีการจับคู่การซื้อขายได้แล้วระบบจะยืนยันคำสั่งดังกล่าวกลับมาที่ โบรกเกอร์ เพื่อให้โบรกเกอร์แจ้งกับนักลงทุนอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ระบบจะมีการรายงานการซื้อขายไปยัง บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการชำระราคา และส่งมอบหลักทรัพย์ ตามวันเวลา ที่กำหนด


ทั้งนี้ ขั้นตอนการซื้อขายหลักทรัพย์ จะสามารถใช้ได้กับ

  1. บัญชีซื้อขายตราสารทุน ซึ่งจะสามารถซื้อขาย หุ้นสามัญ, วอร์แรนท์,
    กองทุนรวมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และกองทุน ETF
  2. บัญชีซื้อขายตราสารหนี้

แนะนำตลาดทุนและตลาดอนุพันธ์

ตลาดการเงินประกอบด้วย ตลาดเงิน ตลาดทุน และตลาดอนุพันธ์ ต่อไปนี้จะแนะนำโครงสร้างตลาดทุนและตลาดอนุพันธ์ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญต่อ ระบบเศรษฐกิจของประเทศ

ตลาดทุน เป็นตลาดที่มีการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงินระยะยาวอายุเกิน 1 ปี โดยเราสามารถแบ่งตลาดทุนได้เป็น


ตลาดแรก (Primary Market) เป็นตลาดที่มีสินทรัพย์ทางการเงินที่กิจการออกขึ้นมาใหม่เพื่อระดมทุน โดยนำเงินที่ได้จากผู้มีเงินทุนส่วนเกิน(ผู้ลงทุน) มาขยายกิจการและดำเนิน กิจการให้มีการเจริญเติบโต โดยกิจการจะเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป ซึ่งเรียกว่า Public Offering หรืออาจจะเสนอขายแก่ผู้ลงทุนรายใด หรือกลุ่มใดเป็นการเฉพาะเจาะจง เช่น สถาบันการเงิน กองทุน อย่างนี้เรียกว่า Private Placement

ตลาดรอง (Secondary Market) เป็นตลาดที่มีไว้สำหรับการเปลี่ยนมือของผู้มีสินทรัพย์ทางการเงินจากการซื้อ ในตลาดแรก หรือผู้ที่ต้องการมีสินทรัพย์ทางการเงินแต่ไม่สามารถซื้อได้ทันในตลาดแรก ก็สามารถซื้อได้ในตลาดรอง จึงทำให้ตลาดรองเป็นแหล่งซื้อขายสินทรัพย์ทางการ เงิน เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(SET), ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI), ตลาดตราสารหนี้ BEX (BEX)

Image

องค์ประกอบของตลาดการเงิน(Component of Money Market)


ตลาดการเงินประกอบด้วยตลาดเงิน และตลาดทุน ซึ่งใช้เกณฑ์แบ่งตามอายุของสินทรัพย์ทางการเงิน โดยมีตลาดอนุพันธ์เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงของสินทรัพย์ทางการ เงิน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ตลาดเงิน (Money Market) เป็นตลาดที่มีการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงินระยะสั้น ซึ่งหมายถึงตราสารที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี เช่น ตั๋วเงินคลัง ตราสารหนี้ระยะสั้น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี เป็นต้น

2. ตลาดทุน (Capital Market) เป็นตลาดที่มีการซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงินระยะยาว ซึ่งหมายถึงตราสารที่มีอายุเกิน 1 ปี เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ พันธบัตร หุ้นกู้ เป็นต้น


3. ตลาดอนุพันธ์ (Derivatives Market) เป็นตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเป็นสัญญาที่ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหาร
ความเสี่ยงของกิจการและผู้ลงทุน โดยมีสินทรัพย์อ้างอิงเป็นจากสินทรัพย์ทางการเงินที่ออกมาจากตลาดเงินและตลาดทุน

แนะนำตลาดและขั้นตอนการซื้อขาย

ตลาดการเงิน คือตัวกลางที่ให้ผู้ต้องการเงินทุน(กิจการ) และผู้มีเงินออม(ผู้ลงทุน) มาพบกัน เพื่อเป็นการจัดหาเงินทุนสำหรับผู้ที่ต้องการเงินทุนโดยใช้สินทรัพย์ทางการ เงินต่างๆ เป็นเครื่องมือ เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดหาเงินทุนของกิจการให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย ขึ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนให้กับผู้ลงทุนมากขึ้น เช่น ตั๋วเงินคลัง ตราสารหนี้ หุ้นสามัญ

เปรียบเทียบการจัดหาเงินทุนโดยการกู้ยืมจากสถาบันการเงินและตลาดการเงิน


เช่นกิจการ ABC ต้องการจัดหาเงินทุนเพื่อขยายกิจการ ในขณะที่ผู้ลงทุน B ต้องการหาช่องทางการลงทุน ทั้งกิจการ
ABC และนักลงทุน B สามารถตอบสนองความต้องการได้ผ่าน 2 ช่องทางดังนี้

1. กรณีผ่านสถาบันการเงิน โดยมีธนาคารหรือบริษัทเงินทุนเป็นตัวกลางระหว่างผู้ต้องการเงินทุนกับผู้มีเงินออม
โดยกิจการ ABC ขอสินเชื่อกับธนาคารระยะเวลา 3 ปี ธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ย 7 %
ในขณะที่ผู้ลงทุน B นำเงินมาจากการฝากประจำ 3 ปี ได้รับผลตอบแทนเป็นตราดอกเบี้ย 3 %
ทำให้กิจการ ABC มีต้นทุน 7 % ผู้ลงทุน Bได้ผลตอบแทน 3 % และธนาคารซึ่งเป็นตัวกลางได้ส่วนต่าง 4 %

2. ผ่านตลาดการเงิน เป็นการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้โดยตรงทำให้กิจการได้รับต้นทุนที่ต่ำกว่าใน ขณะที่ผู้ลงทุนก็มี โอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นกว่าการฝากประจำ กับธนาคารในระยะเวลาที่เท่ากัน
โดยกิจการ ABC ออกสินทรัพย์ทางการเงิน(หุ้นกู้) ระยะเวลา 3 ปี ให้อัตราดอกเบี้ย 5 %
ซึ่งผู้ลงทุน B ได้ทำการซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน(หุ้นกู้) จากกิจการ ABC ไปโดยได้รับผลตอบแทน 5 % เช่นกัน
จะเห็นได้ว่าการจัดหาเงินทุนผ่านตลาดการเงินไม่มีตัวกลางซึ่งผู้ลงทุนอาจได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้นแต่ก็มี
ความเสี่ยงที่มากขึ้นเช่นกันหากกิจการ ABCเกิดประสบปัญหาขาดทุนทำให้ไม่สามารจ่ายดอกเบี้ยได้ผู้ลงทุน
ก็จะมีความเสียงจากการผิดนัดชำระ


ช่องทางการลงทุน: ตอนตราสารอนุพันธ์

ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) คือ ตราสารทางการเงินที่ก่อกำเนิดจาก อ้างอิงจาก หรือผันแปรตาม สินทรัพย์อ้างอิง โดยทั่วไปตราสารอนุพันธ์จะมีมูลค่าขึ้นอยู่กับสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset)หรือตัวแปรอ้างอิงอื่น ๆ (Underlying Variable)

สินทรัพย์ที่อ้างอิง อาจเป็นตราสารทางการเงิน เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ พันธบัตรตั๋วเงิน หุ้นสามัญ ฯลฯ หรืออาจเป็นสินค้าหรือสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น น้ำมัน ข้าว บ้าน รถยนต์ ฯลฯ ตามแต่ที่ ตราสารอนุพันธ์นั้นได้กำหนดไว้ ว่าเป็นการอ้างอิงถึงสินทรัพย์ใด

ตัวอย่างของอนุพันธ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั้น เช่น สัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินซึ่งปกติการซื้อขายบ้านและที่ดินเป็นการทำ สัญญาจะซื้อจะขายกัน โดยผู้ซื้อทำการวางเงินมัดจำจำนวนหนึ่ง ให้แก่ผู้ขาย เช่น บ้านมีราคา 3,000,000 บาท ผู้ซื้อได้ตกลงที่จะวางเงินมัดจำจำนวน 500,000 บาทในวัน ทำสัญญา และจะมีการส่งมอบบ้านกันในอนาคต เช่น อีก 6 เดือนข้างหน้า ในระหว่างสัญญานั้นผู้ซื้อก็จะดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคาร เพื่อนำมาซื้อบ้านและที่ดินดังกล่าว หากธนาคารอนุมัติเงินกู้ ผู้ซื้อก็จะนำเงิน มาชำระค่าบ้านตามสัญญา หรือหากผู้ซื้อไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ ผู้ซื้อก็จะไม่สามารถทำตามสัญญาได้ผู้ขายก็จะยึดเงินมัดจำไป หรือหากผู้ซื้อสามารถขายสัญญาดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นได้ ผู้ซื้อก็จะได้รับเงินค่ามัดจำคืน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาที่ผู้ซื้อสามารถที่จะขายสัญญาจะซื้อจะขายได้ หากราคาบ้านมีราคาสูงขึ้นในระหว่าง เวลา 6 เดือน สัญญาดังกล่าวอาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และถ้าราคาบ้านมีราคาลดลงในระหว่าง 6 เดือนสัญญาดังกล่าวอาจมีมูลค่าลดลง


ญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินดังกล่าว เป็นตราสารอนุพันธ์ประเภทหนึ่ง เพราะสัญญาดังกล่าวสามารถ เปรียบได้เสมือนสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งถูกนับเป็นหนึ่งในตราสารอนุพันธ์ คือ เป็นการตกลงกันล่วงหน้า เพื่อทำการซื้อขายบ้านกันในอนาคต โดยอาจมีการวางเงินมัดจำเป็นบางส่วนในปัจจุบัน และจะชำระค่าสินค้า หรือค่าบ้านและที่ดินที่เหลือในอนาคต โดยที่สัญญาดังกล่าวอาจมีราคาสูงขึ้นหรือลดลงก็ได้ หากราคาบ้าน และที่ดินซึ่งเป็นสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) เกิดมีราคาเพิ่มขึ้นหรือลดลงในระหว่างสัญญา

ตัวอย่างของตราสารอนุพันธ์ ข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างแบบง่าย ตราสารอนุพันธ์ที่จะแนะนำในที่นี้มี 2 ประเภทหลัก คือ
Image Image

  • ผู้ลงทุนตราสารอนุพันธ์ในตลาด TFEX นั้น เมื่อได้รับกำไรจากการลงทุนจะมีภาระภาษี
    สำหรับบุคคลธรรมดา ในลักษณะเช่นเดียวกันกับภาระภาษีจากการลงทุนในตราสารทุน

ช่องทางการลงทุน: ตอนกองทุนช่วยประหยัดภาษี LTF,RMF

LTF ย่อมาจาก Long Term Equity Fund หรือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว และ RMF ย่อมาจาก Retirement Mutual Fund หรือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งเป็นกองทุนแบบพิเศษที่ให้สิทธิผู้ลงทุน นำเงินลงทุนในแต่ละปีมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

RMF คืออะไร?
ตอบ RMF ย่อมาจากคำว่า Retirement Mutual Fundหรือเรียกในชื่อไทยว่า“กองทุนรวมเพื่อ
การเลี้ยงชีพ” เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง(กองทุนรวม หมายถึงการนำเงินของผู้ลงทุนหลาย ๆ คนมารวมกัน แล้วมีมืออาชีพ ซึ่งก็คือบริษัทจัดการ คอยบริหารจัดการเงินตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดไว้) ซึ่งมีวัตถุประสงค์พิเศษแตกต่างจากกองทุนรวมทั่วไป คือ RMF เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสะสมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ ที่ทางการให้การสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนเพื่อเป็นแรงจูงใจ

LTF คืออะไร?
ตอบ LTF ย่อมาจากคำว่า Long Term Equity Fund หรือเรียกในชื่อไทยว่า“กองทุนรวมหุ้นระยะยาว”
เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้น โดยทางการสนับสนุนให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบัน
(ซึ่งก็คือ กองทุนรวม) ที่จะลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ฯ การเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าวจะช่วย
ให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งนี้ ผู้ที่ลงทุนใน LTF ที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับสิทธิประโยชน์
ทางภาษีเพื่อเป็นแรงจูงใจในการลงทุน

ช่องทางการลงทุน: ตอนกองทุน ETF

ETF หรือ “Exchange Traded Fund” คือ กองทุนเปิดที่ลงทุนในหุ้นทุน และจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ถ้ามาดูตามคำศัพท์ภาษาอังกฤษแต่ละคำที่ประกอบขึ้นได้ดังนี้

  • Exchange: หมายความว่า มีการนำหน่วยลงทุนไปจดทะเบียนในตลาดรอง (secondary market)
    หรือตลาดหลักทรัพย์ฯ (the stock exchange)
  • Traded: หมายความว่า สามารถทำการซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หรือโบรกเกอร์ ได้เสมือนกับเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตัวหนึ่ง ดังนั้น สภาพคล่อง (liquidity) ของกองทุน ETF จึงไม่ต่างจากหลักทรัพย์จดทะเบียนทั่วๆ ไปที่สามารถซื้อขายกันได้ตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ นักลงทุนยังสามารถทราบราคาซื้อขายได้ในทันทีแบบ Real Time อีกด้วย
  • Fund: หมายความว่า กองทุน ETF เป็นกองทุนรวม (mutual fund) ประเภทหนึ่งโดย ETF เป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่เน้นการสร้างผลตอบแทนให้เท่ากับดัชนีอ้าง อิง อาทิเช่นดัชนีราคาหุ้น ดัชนีราคาหุ้น SET50 ดัชนีราคาตราสารหนี้ เป็นต้น

ETF ที่ลงทุนในตราสารทุนกองแรกของประเทศไทยใช้ดัชนีราคาหุ้น SET50 เป็นหลักทรัพย์อ้างอิงผู้จัดการกองทุนจะรวบรวมเงินลงทุนจากกลุ่มผู้ร่วมลง ทุนไปซื้อหุ้นในกลุ่ม SET50 โดยมีวัตถุประสงค์ การลงทุนให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีราคาหุ้น SET50 มากที่สุด ดังนั้นพอร์ตการลงทุนจึงประกอบ ไปด้วยหุ้น 50 ตัวที่มีพื้นฐานดี มีมูลค่าตามราคาตลาด (market capitalization) อยู่ในระดับสูงและเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในความต้องการของนักลงทุน มีการหมุนเวียนของการ ซื้อขายโดยตลอดหรือมีสภาพคล่องสูง
Image
ดัชนี SET50 (SET50 Index) เป็นหนึ่งในดัชนีราคาหุ้นสามัญที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ สร้างขึ้นมา เพื่อสะท้อน การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญ 50 ตัวที่มีสภาพคล่อง และมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดสูงจนถือได้ว่าเป็น ตัวแทนมูลค่าของหุ้นสามัญส่วนใหญ่ในตลาด โดยถูกคำนวณขึ้นด้วยวิธีถ่วงน้ำหนักมูลค่า หลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization Weight) ตามสูตรต่อไปนี้

1. ราคาซื้อ ขาย (trading price)
คือ ราคาซื้อ (bid) และราคาขาย (offer) ที่ปรากฎอยู่บนกระดานซื้อขาย ETF ซึ่งราคานี้จะถูกกำหนด โดยความต้องการซื้อ และความต้องการขาย ของผู้ลงทุน ETF ในตลาด

2. มูลค่าต่อหน่วย (net asset value: NAV)
คือ มูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนต่อหน่วย ซึ่งคำนวณจากราคาซื้อ ขายของ หุ้นที่เป็นองค์ประกอบใน SET50 Index ณ สิ้นวันทำการ แต่สำหรับ Equity ETF แล้วบริษัทจัดการที่เป็นผู้จัดการกองทุน Equity ETFจะมีการคำนวณและรายงานมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยประมาณทุกนาทีตลอดเวลาทำ การซื้อขาย ซึ่งมูลค่าทรัพย์ สินสุทธิโดยประมาณนี้เรียกว่า Indicative NAV (INAV)

การลงทุนใน ETF ในตลาดหลักทรัพย์สำคัญๆ ในต่างประเทศได้รับความนิยมมากเนื่องจากมีสภาพคล่อง จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการอ้างอิงดัชนีราคาหุ้นเสมือนการลงทุน ในหุ้นที่เป็นองค์ประกอบของการคำนวณดัชนีทั้งหมด ทำให้ช่วยกระจายความเสี่ยงในการลงทุนคือซื้อ TDEX 1 หน่วย เหมือนได้ซื้อหุ้น 50 ตัวพร้อมกัน

1. กำไรจากส่วนต่างของราคา (capital gain)
โดยหากผู้ลงทุนที่สามารถซื้อหน่วย ETF ในราคาต่ำแล้วสามารถขายได้ในราคาสูงกว่าตอนที่ซื้อมาจะได้รับกำไรจากส่วนต่างของราคา

2. เงินปันผล (dividend)
ผู้ลงทุนจะได้รับเงินปันผลจากการถือหน่วย ETF ซึ่งได้มาจากเงินปันผลของบริษัทที่เป็นองค์ประกอบ ของ SET50 Index โดยผู้จัดการกองทุนจะจัดสรรเงินปันผลหลังจากหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ของกองทุน

ความเสี่ยงจากการลงทุนใน ETF
ผู้ลงทุนใน ETF มีความเสี่ยงจากปัจจัยลบที่อาจจะมีผลกระทบเชิงลบต่อระดับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีข่าวสารเกี่ยวกับตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจออกมาไม่ดีนัก ดัชนี SET50 อาจ ปรับตัวลดลงส่งผลกระทบต่อราคา SET50 ETF ที่ผู้ลงทุนถือไว้อาจมีราคาลดลงได้ ทำให้ผู้ลงทุนอาจขายหน่วย ETF ได้ในราคาที่ต่ำกว่าตอนที่ซื้อมาตอนแรก

นอกจากนี้
ผู้ลงทุนยังต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่เรียกว่า Tracking Error Risk ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ผลตอบแทนของหน่วย ETF ไม่เท่ากับอัตราผลตอบแทนของดัชนีได้ 100%



ช่องทางการลงทุน: ตอนกองทุนรวม

กองทุนรวม (Mutual Fund) คือ โครงการลงทุนที่ระดมเงินทุนจากนักลงทุนหลายๆรายมารวมกันให้เป็นเงินลงทุน ก้อนใหญ่ แล้วนำไปจดทะเบียนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล จากนั้นก็จะนำเงิน ที่ระดมได้ไปลงทุนในหลักทรัพย์ หรือทรัพย์สินประเภทต่างๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ ตามนโยบายการลงทุนที่ได้ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายแก่นักลงทุนนั้น ทั้งนี้นักลงทุนแต่ละรายจะได้รับ “หน่วยลงทุน (Unit Trust)” เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันฐานะความเป็นเจ้าของในเงินที่ตนได้ลงทุนไป โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุนรวม (บลจ.) เป็นผู้จัดตั้งและทำหน้าที่บริหารกองทุนรวมให้ได้ผลตอบแทน แล้วนำมาเฉลี่ยคืน ให้กับนักลงทุนแต่ละรายตามสัดส่วนที่ลงทุนไว้แต่แรกในกองทุนรวมนั้น



1. หุ้นสามัญ (Common Stocks หรือ Ordinary Shares)
คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการ และเมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงานผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินปันผลใน อัตราที่จัดสรรโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น โดยคำนวณตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครอง ทั้งนี้ เงินปันผลอาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผลกำไรจากการดำเนินงานประจำปีของกิจการ


2. หุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stocks)
คือ ตราสารสิทธิที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการที่มีการจดบุริมสิทธิ์ไว้อย่าง ชัดเจนไม่สามารถยกเลิกได้เมื่อกิจการมีกำไรจากการดำเนินงาน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินปันผลในอัตราคงที่ตามที่จดบุริมสิทธิ์ไว้ อาจจะมากหรือน้อยกว่าผู้ถือหุ้นสามัญก็ได้ แต่หากกิจการนั้นต้องเลิกดำเนินการและมีการชำระบัญชีโดยการขายทรัพย์สิน ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับเงินคืนทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ


3. ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น (Stock Warrants)
ใบ สำคัญแสดงสิทธิในหุ้น (Stock Warrants) คือ ตราสารสิทธิที่กิจการออกให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อให้สิทธิ ในการซื้อหุ้นออกใหม่ในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการก็ต่อเมื่อได้ใช้สิทธิในการซื้อ หุ้นของกิจการนั้นแล้วเท่านั้น


4. หน่วยลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน
หน่วย ลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุน คือ ตราสารสิทธิในการเป็นเจ้าของหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่ มีนโยบายลงทุนเน้นการลงทุนในตราสารทุน ผู้ลงทุนจะมีสิทธิในความเป็นเจ้าของกิจการที่กองทุนรวมนั้น ลงทุนไว้ ตามสิทธิที่เฉลี่ยระหว่างผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งหมดในกองทุนรวมนั้นนั่นเอง


5. ตราสารแสดงสิทธิในอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น (Stock Options & Futures)
ตรา สารแสดงสิทธิในอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น (Stock Options & Futures) คือ สัญญาที่ ผู้ลงทุนสองฝ่ายตกลงกันเพื่อซื้อหรือขายหุ้นในราคา จำนวน และภายในระยะเวลาที่กำหนด





Image

ตราสารหนี้ (Debt Instruments) หมายถึง ตราสารแสดงความเป็นหนี้ หรือ สัญญาเงินกู้ที่บริษัทออกให้แก่ ผู้ลงทุนทั่วไป โดยสัญญาว่าจะใช้เงินตามกำหนด และจ่ายดอกเบี้ยตามกำหนด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นตราสารสิทธิที่แสดงความเป็น "เจ้าหนี้ของกิจการ" โดยทั่วไปแล้วการลงทุนในตราสารหนี้ จะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในตราสารทุน ประเภทของตราสารหนี้ ได้แก่

1. ตราสารหนี้ภาครัฐ ได้แก่

  • พันธบัตรรัฐบาล (government bond)
  • พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ (state-owned enterprise bond)
  • พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
  • พันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
  • ตั๋วเงินคลัง (treasury bill)
  • ตราสารหนี้ภาครัฐ มีความเสี่ยงต่ำสุดในด้านความสามารถในการชำระหนี้



แต่ตราสารหนี้ภาครัฐก็จะมีอัตราผลตอบแทนไม่สูงนัก ส่วนใหญ่จะมีอายุการลงทุนยาว เพื่อมิให้เป็นภาระของรัฐในด้านการบริหารและการจัดการหนี้ ยกเว้นแต่กรณีของตั๋วเงินคลัง ซึ่งรัฐบาลออกเพื่อใช้ในการกู้ยืมเงินระยะสั้น (ไม่เกิน 180 วัน) หรือเพื่อดูดซับเงินสภาพคล่องส่วนเกินในตลาดเงิน เพื่อรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยเท่านั้น

2. ตราสารหนี้ภาคเอกชน ได้แก่

  • หุ้นกู้ (Debenture) มีลักษณะและคุณสมบัติตามสถานะของการเป็นเจ้าหนี้
  • หุ้นกู้มีประกัน (secured debt) มีการค้ำประกันหนี้โดยบุคคลที่สาม (ส่วนใหญ่ได้แก่ บริษัทแม่หรือ สถาบันการเงิน) หรือมีการวาง หลักทรัพย์ไว้เป็นประกัน การชำระหนี้ ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็น เจ้าหนี้เหนือกว่าเจ้าหนี้รายอื่น
  • หุ้นกู้ไม่มีประกัน (non-secured debt) ปลอดการค้ำประกัน และปลอด หลักทรัพย์ที่วางไว้เป็นประกัน การชำระหนี้ ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็น เจ้าหนี้ด้อยกว่าหุ้นกู้มีประกัน
  • หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ (senior debt) ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้ เท่าเทียมกับเจ้าหนี้รายอื่นแต่ด้อยกว่าหุ้นกู้มีประกัน
  • หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (subordinated debt)ผู้ลงทุนทรงสิทธิของความเป็นเจ้าหนี้ป็นรองเจ้าหนี้รายอื่นที่ไม่ด้อย สิทธิ นั่นคือ ได้รับชำระหนี้คืนหลังสุด
Image


ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange)
คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋ว แลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขาย เปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกันหรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข

ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory note)
คือ ตราสารการเงินระยะสั้นที่ออกโดยบุคคลรายหนึ่งสัญญากับบุคคลอีกรายหนึ่งว่า จะใช้เงินจำนวน ที่ระบุบนหน้าตั๋วสัญญาใช้เงิน พร้อมด้วยดอกเบี้ยให้ในวันที่กำหนด ตั๋วสัญญาใช้เงินโดยส่วนใหญ่ จะแลกเปลี่ยนมือไม่ได้ (non-negotiable) และแสดงข้อความไว้บนหน้าตั๋ว แต่ถ้าไม่มีการแสดงไว้ ดังกล่าว และตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็สามารถนำมาซื้อขายในตลาดเงินได้

บัตรเงินฝากแลกเปลี่ยนมือได้ (Negotiable Certificate of Deposit)
คือ ตราสารแสดงการฝากเงินกับธนาคาร สามารถแลกเปลี่ยนมือได้ในตลาดรอง หากพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ ตราสารหนี้ภาคเอกชนจะมีความเสี่ยงมากกว่าตราสารหนี้ของภาครัฐแต่ตราสารหนี้ ภาคเอกชนจะมีอัตราผลตอบแทนสูงกว่า และมีอายุการลงทุนให้เลือกมาก ทั้งระยะสั้น ปานกลาง และระยะยาว

Image
  • กองทุนรวมไม่รับประกันผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับ (ยกเว้นกรณีของกองทุนรวมมีประกัน)
    ผู้ลงทุนอาจจะได้รับผลตอบแทน หรือไม่ก็ได้ หรืออาจจะขาดทุนจากการขายหน่วยลงทุนก็ได้
  • เมื่อการลงทุนของกองทุนรวมมีกำไร ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผล (Dividend) (ในกรณีที่กองทุนรวมนั้นมีนโยบายที่จะจ่ายเงินปันผล) และมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อ
    หน่วยที่เพิ่มขึ้น ผู้ลงทุนก็จะได้รับ กำไรส่วนเกินมูลค่าหน่วยลงทุน (Capital Gain) เมื่อผู้ลงทุนนั้น
    ขายคืนหน่วยลงทุน
  • ส่วนความเสี่ยงของกองทุนรวมแต่ละประเภทนั้น มีความเสี่ยงในทำนองเดียวกันกับตราสารหรือ
    หลักทรัพย์ ที่กองทุนรวมนั้น ๆ เน้นลงทุน เช่น กองทุนรวมตราสารทุนก็จะมีความเสี่ยงแบบเดียวกันความเสี่ยงของตราสารทุน กองทุนรวมตราสารหนี้ก็จะมีความสี่ยงแบบเดียวกับตราสารหนี้ เป็นต้น

  • กองทุนรวมมีลักษณะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากบริษัทจัดการผลประโยชน์ ต่างๆ ที่กองทุนรวมได้รับ จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี เช่น กองทุนรวมลงทุนในตราสารทุนได้รับเงินปันผล และหรือกำไรส่วนเกินทุน ไม่ต้องเสียภาษี กองทุนรวมลงทุนในตราสารหนี้ได้รับดอกเบี้ย ส่วนลดรับ และหรือ กำไรส่วนเกินทุน ก็ไม่ต้องเสียภาษี เช่นกัน เป็นต้น ส่วนผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมนั้น เมื่อได้รับเงินปันผลหรือกำไรส่วนเกินมูลค่าหน่วยลงทุน จะมีภาระภาษีสำหรับ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ในลักษณะเช่นเดียวกันกับภาระภาษีจากการลงทุนในตราสารทุน ดังกล่าวไว้แล้วข้างต้นทุกประการเว้นแต่กรณีผู้ลงทุนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและ เลือกที่จะนำเงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวมไปรวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสีย ภาษีผู้ลงทุนจะไม่สามารถเครดิตภาษีเงินปันผลได้
Image

ช่องทางการลงทุน: ตอนตราสารหนี้

ตราสารหนี้ (ตราสารแห่งหนี้) (debt instrument หรือ fixed income securities) คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ออกตราสารซึ่งเรียกว่า ผู้กู้หรือลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวดๆ และเงินต้น หรือผลประโยชน์อื่นๆ ตามข้อกำหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเรียกว่า ผู้ให้กู้หรือเจ้าหนี้ เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ โดยระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอนของตราสารหนี้นั้นจะมีตั้งแต่ระยะสั้น (ไม่เกินหนึ่งปี) ระยะปานกลาง (หนึ่งถึงห้าปี) ไปจนถึงระยะยาว (เกินห้าปีขึ้นไป) กรณีตราสารหนี้ในตลาดทุนโดยทั่วไปมักจะหมายถึงตราสารที่มีอายุไถ่ถอนมากกว่า หนึ่งปีขึ้นไป โดยผู้ซื้อจะได้รับผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย ส่วนลดรับ หรือผลประโยชน์อื่นตามที่ได้มีการกำหนดไว้


การใช้คำว่า “ตราสารหนี้” ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเปลี่ยนมือของผู้ถือ (นักลงทุนในตราสารหนี้) ซึ่งแตกต่างจากสัญญากู้ยืมที่แสดงความเป็น “เจ้าหนี้” และ “ลูกหนี้” ของผู้ให้กู้กับผู้กู้เงิน เหมือนกัน แต่สัญญากู้ยืมเงินนั้นขาดความสามารถในการเปลี่ยนมือของความเป็น “เจ้าหนี้” ระหว่างนักลงทุนทั้งนี้การเปลี่ยนมือของตราสารหนี้ระหว่างนักลงทุนนั้น สามารถทำผ่านกลไกตลาดรอง (secondary market) ได้ ซึ่งปัจจุบันตลาดรองของตราสารหนี้ก็คือ BEX (Bond Electronic Exchange) ที่ดำเนินการโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตามความหมายข้างต้น แสดงว่าตราสารหนี้ก็คือ ตราสารทางการเงินชนิดหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่ต้องการเงินทุน (ผู้กู้) และผู้ที่มีเงินทุนแต่ต้องการผลตอบแทน (ผู้ให้กู้) ผูกพันกัน โดยมีข้อกำหนดต่างๆ ที่ระบุในสัญญาหุ้นกู้ (indenture) เป็นกฎกติการ่วมกัน อีกทั้งตราสารหนี้ยังสามารถเปลี่ยนมือกันได้ในตลาดรองคล้ายๆ กับการซื้อขายหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์

ตราสารหนี้ เป็นศัพท์กว้างๆ แต่ที่ท่านอาจคุ้นเคยมากกว่า คือ “พันธบัตร” และ “หุ้นกู้” โดยพันธบัตร มักใช้เรียกตราสารหนี้ ที่ออกโดยรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ และมักเรียกว่าหุ้นกู้เมื่อออกโดยบริษัทเอกชน แต่ในต่างประเทศใช้คำว่า “Bond” สำหรับตราสารหนี้ทั่วไปทั้งที่ออกโดยรัฐและเอกชน มีในบางกรณีที่เรียกว่า “Debenture”เมื่อตราสารหนี้นั้นไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน


Image

Image
1. มูลค่าที่ตราไว้ (Par value)
หมายถึง มูลค่าที่ผู้กู้จะต้องชำระคืนให้กับผู้ถือตราสารหนี้นั้น เมื่อครบกำหนด เช่น 1,000 บาท หรือ 10,000 บาท
Image 2. อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว (Coupon rate)
คือ อัตราดอกเบี้ยที่ ผู้ออกมีภาระที่จะต้องจ่ายให้กับผู้ถือตราสารหนี้นั้น ๆ ตามงวดการจ่ายดอกเบี้ยที่กำหนดตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น
Image 3. งวดการจ่ายดอกเบี้ย (Coupon frequency)
คือ จำนวนครั้ง ของการจ่ายดอกเบี้ยต่อปี ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของผู้ออก ตราสารหนี้ เช่น กำหนด ให้มีการจ่ายดอกเบี้ยทุกครึ่งปี เป็นต้น
Image
4. วันหมดอายุหรือวันครบกำหนดไถ่ถอน (Maturity date)
หมายถึง วันหมดอายุของตราสารหนี้นั้น ซึ่งผู้ออกจะต้องจ่ายคืนเงินต้นและ ดอกเบี้ยงวดสุดท้าย (ถ้ามี) ให้กับผู้ถือ

Image
5. ชื่อผู้ออก (Issue)
คือ ผู้ออกตราสารหนี้นั้นซึ่งอยู่ใน สถานะเป็นผู้กู้หรือลูกหนี้นั่นเอง
Image 6. ประเภทของตราสารหนี้
คือ ข้อมูลที่ระบุประเภทของตราสาร หนี้นั้น เช่น หุ้นกู้ไม่มีประกัน หุ้นกู้ด้อยสิทธิ/ไม่ด้อยสิทธิ หุ้นกู้แปลงสภาพ เป็นต้น
Image 7. ข้อสัญญา (Covenants)
หมายถึง เงื่อนไขที่ผู้ออกจะต้องปฏิบัติตามหรืองดเว้นการปฏิบัติตลอดอายุของหุ้นกู้ เช่น การห้ามจ่ายเงินปันผลแก่ ู้ถือหุ้นสามัญเกินอัตราที่กำหนด การดำรงสัดส่วนของหนี้สินต่อทุนไม่เกิน อัตราที่กำหนด ข้อสัญญาอาจรวมถึงการจำกัดด้านการบริหารของผู้ออก เช่น การห้ามรวมกิจการ เป็นต้น

ตราสารหนี้จัดว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการลงทุน ซึ่งขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนักลงทุนว่าจะให้ความสนใจต่อช่องทางนี้มาก น้อยเพียงใด โดยพิจารณาจากผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับและระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับ ได้ ส่วนเหตุผลที่ผู้ลงทุนส่วนใหญ่เลือกที่จะลงทุนในตราสารหนี้ สามารถสรุปได้ดังนี้

1. เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำเมื่อเทียบกับตราสารทุน
เพราะได้กำหนดอัตราผลตอบแทนที่ค่อนข้างแน่นอน นักลงทุนสามารถประมาณการณ์กระแสเงินสดที่พึงจะได้รับในอนาคตได้

2. ได้รับผลตอบแทนที่ค่อนข้างคงที่และสม่ำเสมอ
เพราะตราสารหนี้มีการกำหนดจ่ายคูปองไว้ล่วงหน้า

3. เป็นเครื่องมือทางการเงินชนิดหนึ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน
เนื่องจากการลงทุนในตราสารทุนไม่สามารถประมาณการรายได้จาก เงินปันผลหรือส่วนต่างกำไร (capital gain/loss) ที่แน่นอนได้ และปกติตราสารหนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านราคา (volatility) น้อยกว่าตราสารทุน

4. มีตลาดรองรองรับ (Marketability)
การซื้อขายเปลี่ยนมือ และหากเป็นตราสารที่มีคุณภาพดี เช่น ผู้ออกตราสารเป็นรัฐบาลหรือบริษัทเอกชนที่มีฐานะการเงินมั่นคง ก็จะทำให้ตราสารหนี้นั้นมีสภาพคล่อง (liquidity)

5. ใช้เป็นส่วนหนึ่งในการดำรงสินทรัพย์
สภาพคล่องตามกฎหมายสำหรับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงิน

6. สามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ
เช่น ใช้ค้ำประกันธุรกิจ ค้ำประกันผู้ต้องหา ใช้ในการบริหารเงินนอกงบประมาณสำหรับหน่วยราชการ เป็นต้น ทั้งนี้ข้อ 5 และข้อ 6 จะเป็นในกรณีเฉพาะตราสารหนี้จากภาครัฐ


ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน

ตราสารหนี้ Image
ตราสารทุน Image
1. สิทธิในการเรียกร้อง
(Priority Claim)
ผู้ถือตราสารหนี้ซึ่งอยู่ในฐานะเจ้า หนี้ีสิทธิในการเรียกร้องสูงกว่าผู้ถือตราสารทุน ซึ่งอยู่ในฐานะเจ้าของ บริษัท หากบริษัทมีปัญหาทางการเงินหรือถูกฟ้องล้มละลาย บริษัทจะต้องขาย ทอดตลาดสินทรัพย์ และชำระบัญชี โดยนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดชำระคืนให้แก่ผู้ถือตราสารหนี้ ก่อนผู้ถือตราสารทุน ผู้ถือตราสารทุนซึ่งอยู่ ในฐานะเจ้าของบริษัทมีสิทธิในการเรียกร้องต่ำกว่าผู้ถือตราสารหนี้ โดยจะได้รับ ชำระเมื่อบริษัทชำระคืนให้แก่ผู้ถือตราสารหนี้(เจ้าหนี้)ครบถ้วนแล้ว
2. ความเป็นเจ้าของ
(Ownership)
ผู้ถือตราสารหนี้ไม่มีสิทธิออกเสียง ในการประชุมหรือการตัดสินใจ
ในการดำเนินงานของบริษัทเนื่องจากอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ไม่ใช่เจ้าของบริษัท
ผู้ถือตราสารทุน มีสิทธิออกเสียง ในการประชุมหรือการตัดสินใจ
ในการดำเนินงานของบริษัทเนื่องจากอยู่ในฐานะเจ้าของบริษัท
3. ผลตอบแทน
(Return)
ตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนที่ค่อน ข้างสม่ำเสมอ ในรูปกระแสเงินสดที่เป็นดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่กำหนด ตราสารทุนให้ผลตอบแทนที่อาจ ไม่สม่ำเสมอในรูปกระแสเงินสดที่เป็นเงินปันผลซึ่งขึ้นอยู่กับ ผลกำไรและนโยบายของบริษัท
4. อายุของตราสาร มีระยะเวลาที่กำหนดไว้แน่นอน กล่าวคือ มีอายุจำกัด อายุของตราสารทุนไม่จำกัด
รายได้จากดอกเบี้ย
กำไรจากการขาย
รายได้จากส่วนลด
Image หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
และมีสิทธิเลือกที่จะ
ไม่นำไปรวมคำนวณภาษี
รายได้สิ้นปี
หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% และมีสิทธิเลือกที่จะ
ไม่นำไปรวมคำนวณภาษี รายได้สิ้นปี (ยกเว้น
ตราสารหนี้ที่ไม่มีดอกเบี้ยซึ่งได้หักภาษี ณ ที่จ่าย
15% ไปแล้วจากผู้ถือคนแรก)
หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เฉพาะผู้ถือคนแรก
และมีสิทธิเลือกที่จะ ไม่นำไปรวมคำนวณ ภาษีรายได้สิ้นปี