Sunday 1 March 2009

เทคนิคการบริหารความเสี่ยง (ส่วนบุคคล)

เอาละ เมื่อผ่านสองขั้นตอนเบื้องต้น คือทั้งวิเคราะห์และประเมิน เรียบร้อยแล้ว ก็มาถึงเทคนิคในการบริหารความเสี่ยงกันเลยนะครับ เริ่มต้นด้วย


การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance)

คือ หลักพื้นฐานของการบริหารความเสี่ยงครับ อาจจะฟังดูกำปั้นทุบดินไปหน่อย แต่ก็ยากที่จะปฏิเสธใช่ไหม ละครับว่า การลดความเสี่ยงที่ดีที่สุด ก็คือการหลีกเลี่ยงสาเหตุของความเสี่ยง อย่างเช่น ลดโอกาสเสี่ยงในอุบัติเหตุรถชนด้วยการไม่ขับรถ (เสียเลย) หากตัวอย่างนี้ไม่เป็นที่พอใจ ผมยกตัวอย่างที่ปฏิบัติได้จริงก็ได้นะครับ นั่นคือ ลดโอกาสป่วยเป็นโรคมะเร็งปอดด้วยการเลิกสูบบุหรี่


การลดหรือควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction or Damage Control)

วิธี นี้เน้นไปที่การลดโอกาส-ความถี่-ความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนและใกล้ตัวที่สุด คือ ดื่ม (เหล้า) ไม่ขับ โทรไม่ขับ หรือจะละเอียดขึ้นไปอีกขั้น ก็อย่างเช่น เก็บสารไวไฟเอาไว้นอกบ้าน เพื่อลดโอกาสและความเสียหายจากเหตุไฟไหม้บ้านได้


การประคับประคองความเสี่ยง (Risk Retention)

พูด ตรงๆ ก็คือทำใจยอมรับความเสี่ยงที่เกิดจากสงคราม, การก่อการร้ายหรือการจราจล เพราะแม้แต่บริษัท ประกันเองยังไม่รับประกันความเสี่ยงประเภทนี้เลยนะครับ


การโอนถ่ายความเสี่ยง (Risk Transfer)

โดย ผลักภาระความเสี่ยงไปให้กับผู้อื่น และนี่ก็เป็นหลักอีกอย่างในการทำประกันภัยนั่นเอง เพราะผู้ซื้อประกันจะถ่ายโอนความเสี่ยงไปให้บุคคลที่สาม ซึ่งในที่นี้ก็คือ บริษัทรับประกันภัยผู้ซื้อประกัน(ยอม) จ่ายค่าเบี้ยประกัน ส่วนบริษัทรับประกันภัยเองก็อาจโอนภาระการรับประกันความเสี่ยงของลูกค้า (ผู้ซื้อประกัน) ไปให้บริษัทอื่น (อีกต่อหนึ่ง) ได้บ้างเป็นบางส่วน


ควรหรือไม่ควรซื้อประกัน

อาจ มีคุณบางคนคิดไม่ตกว่าความเสี่ยงระดับไหนและ (หรือ) ความ เสี่ยงแบบใดที่ควรเสียเงินซื้อประกัน ในกรณีนี้ คงต้องหาอัตราส่วนมูลค่า ความเสี่ยงซึ่งผมมีสูตรการคำนวณมาฝากครับ


อัตราส่วนมูลค่าความเสี่ยง = มูลค่ารวมของสิ่งที่เสี่ยง / มูลค่าทรัพย์สินรวมทั้งหมด


ตัวอย่าง เช่น คุณมีบ้านมูลค่า 6 ล้านบาท มีทรัพย์สินรวมทั้งหมด 9 ล้านบาท อัตรามูลค่าความเสี่ยงของบ้านคือ 6:9 หรือเท่ากับ 2 ใน 3จัดว่ามากอยู่


หาก เสียบ้านไปไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตามย่อมกระทบกับฐานะการเงิน ของคุณแน่นอน เพราะฉะนั้นกรณีนี้ทำประกันบ้านของคุณเถอะครับ นอกจากนี้การตัดสินใจว่าคุณควรทำประกันทรัพย์สินชิ้นใดสามารถ คำนวณได้ด้วยการหาอัตราส่วนมูลค่า ความเสี่ยงอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า “หลักการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่” (Large-loss Principle) ที่ควรคิดถึงในการทำ ประกันทรัพย์ประเภทนี้ คือ มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นหาใช่โอกาสปัจจัยและความถี่ที่เป็นสาเหตุของความเสี่ยง


ส่วนลด (Deductible) : ใครได้ประโยชน์?


คุณอาจสงสัยว่าทำไม ประกันบาง ประเภทจึงมีเงื่อนไขให้เราผู้ซื้อประกัน (ต้อง) จ่ายค่าเสียหายในส่วนแรกเอง


คำ ตอบก็คือ นี่เป็นการประสาน ประโยชน์ของสองฝ่ายสำหรับบริษัท ประกัน ข้อกำหนดนี้ถือเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ เพียงเล็กน้อย ส่วนเราผู้ซื้อก็จะได้ส่วนลดค่าเบี้ยประกัน โดยได้รับประโยชน์เท่าเดิม


ด้วยเหตุนี้เองที่ในการ ทำประกันภัยรถยนต์ ผู้ซื้อบางรายจึงเลือกซื้อประกันที่จ่ายค่าเสียหายส่วนแรก 5,000 บาท แทนที่จะเป็น 2,000 บาท แลกกับมูลค่าประกันที่เพิ่มขึ้นจาก 200,000 บาทต่อครั้งเป็น 400,000 บาท โดย เสียค่าเบี้ยประกันเท่าเดิม

พื้น ฐานในเรื่องการประกันภัยที่คุยให้ฟังกันในครั้งนี้คงจะช่วยให้เข้าใจ ได้นะครับว่าจริงๆ แล้ว การประกันเป็นการลงทุนอย่างหนึ่งที่คุณควรศึกษา กันอย่างถี่ถ้วน เพราะมีผลกระทบโดยตรงกับการบริหารการเงินส่วนตัว ของคุณได้นะครับ


เฉลี่ยภาระความเสี่ยง


อัคคีภัย อุบัติเหตุ โจรกรรม พิการ เสียชีวิต เรื่องร้ายๆ เหล่านี้ไม่มี ใครอยากให้เกิดกับตัวเองหรอกครับ แต่เราต่างก็รู้ดีว่ามีโอกาสมาก เหลือเกินที่เหตุร้ายเหล่านี้จะเกิดขึ้นกับเรา (หรือคนที่เรารัก)


และ โอกาสที่จะมีวันร้ายคืนร้ายที่เหตุร้ายมาเยือนชีวิตทุกคนได้ทุกเมื่อ นี่เองที่นำมาสู่หลักการพื้นฐานของการประกัน อีกข้อหนึ่งนั่นคือการเฉลี่ย ภาระความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยลดภาระทางการเงินให้กับความเสียหายที่ เกิดขึ้นจากภัยต่างๆ โดยจะเฉลี่ยความเสี่ยงกันอยู่ในกลุ่มผู้ซื้อประกันตัวอย่างเช่น คนอายุ 35 ปี 1,000 คน ประกันชีวิตในวงเงิน 400,000 บาท ทุกคนตกลงจ่ายเงินคนละ 800 บาท เป็นเงินทุนเพื่อจ่ายให้กับญาติ ผู้ที่อาจเสียชีวิตในปีนี้ สมมติว่าอัตราการเสียชีวิตของคนอายุ 35 อยู่ที่ 2 จาก 1,000 คนก็เท่ากับว่าโอกาสที่กองทุนจะต้องจ่ายเงินเท่ากับ 800,000 บาทพอดี


การ ซื้อประกันด้วยเงินเพียง 800 บาท แทนที่จะเสีย (ทีเดียว) 400,000 บาท เมื่อเกิดเหตุซึ่งเท่ากับว่าลดภาระการเงินของเราเอง คุณ อาจแย้งว่าถ้าไม่มีเหตุร้ายก็ (ขาดทุน) เสียเงิน 800 บาท ไปเปล่าๆ แต่ถ้า เกิดเป็นไปในทางตรงข้ามล่ะ? ไม่เคยมีใครรู้มติของสวรรค์นะครับ ดังนั้น ในกรณีนี้เราควรมองในแง่บวกว่า การซื้อประกันถือเป็นการซื้อเกราะป้องกัน (ภัย) ความเสี่ยงให้ตัวเองยังไงละครับ

No comments:

Post a Comment