Sunday 1 March 2009

การเปิดบัญชีการซื้อขาย

เมื่อนักลงทุนตัดสินใจที่จะซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ นักลงทุนควรติดต่อผ่านเจ้าหน้าที่การตลาดของบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับ อนุญาตให้ทำหน้าที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ เพื่อดำเนินการเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่งโบรกเกอร์แต่ละแห่งอาจจะมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเปิดบัญชีให้กับลูกค้า แตกต่างกันไปในรายละเอียดบ้าง แต่ในหลักการใหญ่ๆ แล้วจะมีมาตรฐานเดียวกัน คือจะพิจารณาฐานะการเงินและความน่าเชื่อถือของผู้ขอสมัครเป็นลูกค้า โดยจะดูจากหลักฐานต่างๆ ที่แสดงถึงทรัพย์สิน กระแสรายได้ ตำแหน่งหน้าที่การงานของลูกค้า ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการอนุมัติวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์


นอกจากนั้นแล้วโบรกเกอร์จะต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เพื่อให้รู้จักลูกค้าอย่างเพียงพอในเรื่องต่างๆได้แก่ เป้าหมายการลงทุน ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ และระดับการยอมรับความเสี่ยง รวมถึงข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ภาระหนี้สิน ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าทั้งหมดจะเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับโบรกเกอร์ในการให้คำ แนะนำแก่ลูกค้าได้อย่างเหมาะสม

การเปิดบัญชีการซื้อขายหลักทรัพย์ในส่วนแรกเป็นการเปิดบัญชีการซื้อขายตราสารทุนซึ่งจะครอบคลุมสามารถซื้อขาย หุ้นสามัญ, วอร์แรนท์, กองทุนรวมที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และกองทุนETF


ประเภทบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์
เมื่อนักลงทุนตัดสินใจได้แล้วว่าต้องการส่งคำสั่งซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่การ ตลาดหรือส่งคำสั่งซื้อขายทางอินเตอร์เน็ต ขั้นตอนต่อมาคือการเลือกว่าจะเปิดบัญชีประเภทใดซึ่งบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ


บัญชีเงินสด (Cash Account) เป็น บัญชีสำหรับนักลงทุนที่ต้องการซื้อหลักทรัพย์โดยชำระค่าหลักทรัพย์เต็มจำนวน ด้วยเงินสด โดยโบรกเกอร์จะพิจารณาอนุมัติวงเงินที่เหมาะสมกับฐานะการเงินและความสามารถ ในการชำระหนี้ ทั้งนี้การซื้อหลักทรัพย์จะต้องชำระค่าซื้อภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ซื้อหลักทรัพย์ ส่วนในกรณีที่ขายหลักทรัพย์นักลงทุนจะได้รับชำระค่าขายหลักทรัพย์จาก โบรกเกอร์การขายหลักทรัพย์ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ขายหลักทรัพย์


บัญชีเงินกู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ประเภทเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance) หรือบัญชีมาร์จิ้น (Margin Account) เครดิต บาลานซ์เป็นการให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ที่พิจารณาสถานะของ ลูกค้าในลักษณะเป็นแบบพอร์ตโฟลิโอโดยไม่คำนึงถึงต้นทุนของแต่ละหลักทรัพย์ โดยกำหนดให้ลูกค้านำเงินสดหรือหลักทรัพย์อื่น ๆ ที่โบรกเกอร์กำหนด มาวางเป็นประกันการชำระหนี้โดยมีมูลค่าอย่างน้อยเท่ากับ อัตราหลักประกันขั้นต้น(Initial Margin) เช่น ลูกค้าวางเงินสดจำนวน 5 แสนบาท สมมติว่าปัจจุบันอัตราหลักประกันขั้นต้นเท่ากับ 50% ดังนั้นลูกค้าจะมีวงเงินซื้อหรือขายชอร์ต (อำนาจซื้อหรือขายชอร์ต) เท่ากับ 1 ล้านบาท และโบรกเกอร์จะทำการปรับมูลค่าหลักทรัพย์ด้วยราคาปิด (Mark to Market) ทุกสิ้นวันทำการ จะมีผลทำให้อำนาจซื้อหรือขายชอร์ตของลูกค้าผันแปรตามมูลค่าตลาดของหลัก ทรัพย์ที่วางไว้เป็นหลักประกันด้วย การลงทุนด้วยบัญชีมาร์จิ้นนี้ นักลงทุนควรศึกษากฎเกณฑ์ของแต่ละโบรกเกอร์อย่างละเอียดถี่ถ้วนทั้งในเรื่อง ของประเภทและมูลค่าของหลักประกัน และอัตรามาร์จิ้น อนึ่ง นักลงทุนสามารถเลือกเปิดได้เพียงประเภทเดียวเท่านั้น นอกจากนี้นักลงทุนไม่สามารถเปิดบัญชีโดยใช้ชื่อร่วมกับบุคคลอื่นได้




No comments:

Post a Comment